พหูไสยาสน์คาถา คาถาขุนแผนสะกดทัพ

พหูไสยาสน์คาถา  คาถาขุนแผนสะกดทัพ

๏โอมนิทรามหานิทรา สิทฺธิอากาสจเทวตา
สิทฺธิภุมฺมาจเคหานํ สิทฺธิยกฺขาจรกฺขสา
สิทฺธิอุฑฺธํอโธนรา อิตฺถีจ จกุมารา
จโคณามหึสา จคาวี จกุกฺกุตฺตา
จปกฺขิโน สตฺถาวิราโวจมุสฺสิโกโหติ
โสมาเสนาจเจตกา สพฺเพนิทฺราจนิทฺราจ
สพฺพอิตฺถีจเตโช สุจสมตฺถา สมตฺโถภเว
ทิพฺพมนฺตาจเตโชสุ สพฺเพชนา พหูชนา
อิตฺถีวา ปุริโสวา กุมาโรวา กุมารีวา
ราชกุมาโรวา ราชกุมารีวา ราชาวา
อคฺคมเหสีวา เสนาปตีวา สมณวา
พฺราหฺมณวา มหทฺทโณวา มาทิสฺวาปิยายนฺติ
พหูเยเสยฺยชินเนริตฺตนเยพุทฺธาสนฺติ
พหูชนานิทฺรา สพฺพมนุสสา เสยฺยาติฏฺฐนฺติ
พหูสพฺเพเทวตานิทฺรา เสยฺยาติฏฺฐนฺตินิทฺรา
สพฺพมนุสฺสา ปถมการาตรีคามเคหํ เสยฺยนิทฺรา
อาโป วาโย เตโช ปถวี อากาส สเวยฺยา
อารมฺมหทยํ สพฺเพชนานิทฺรามนุสฺสา
สมฺมตฺถา สมฺมตฺถา สพฺเพสมฺมตฺถาภเว ๚๛

ร่ายโองการมหาสะกด
๏ โอมสะกด มหาสะกด
สะกดด้วยพระเวทย์พพระมนต์
ทั้งผีและคนทนอยู่มิได้ 

ให้คลับคล้ายคลับคลา
ขอเดชคุณพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์
จงลงมาช่วยให้งวยงงหลงหลับ
โอมระงับ มหาระงับ
ให้ระงับทั้งอินทั้งพรหมพระยายมราช
นะกูจะประกาศฝูงเทวาเทโว
โมกูจะประกาศฝูงผีเรือนให้เลื่อนหลุด
พุทกูจะประกาศฝูงคนในใต้หล้า
ทากูจะประกาศฝูงสุนัขย่อมทนอยู่มิได้ให้ระสายระส่ำ
โอมระงับสาระพัดระงับ ระงับทั้งดิน ระงับทั้งฟ้า
ระงับสาระพัดครอบระงับสวาหะ ๚๛

ร่ายโองการมหาระงับ
๏โอมระงับมหาระงับ หลับสิ้นทั้งบ้าน 
โอมชิดมหาชิด โอมปิดมหาปิด 
สิทธิสวาหับ อัทธะกาเลนะโอนะทา 
นะปิดตา โมปิดใจ พุทปิดปาก ธาปิดหู 
ยะหลับนิ่งอยู่ ฆเฏสิ กิงกะระณัง ฆะเฏสิ 
พระอะระหังปิดตัง พุทธะชานามิ ชานามิ ๚๛ 

๏ โอมระงับมหาระงับ 
กูจะระงับเชิงระโดย
กรูจะระงับพื้นกรม
กรูจะระงับพระยมและพระพรหม
กรูจะระงับทั้งพระนครลงกา
กรูจะระงับเทพยดาแลมนุษย์
กรูจะระงับทั้งพระสมุทรแลสาคร
กรูจะระงับทั้งพระนครไชยศรี
กรูจะระงับทั้งผีครูแลผีหมอ
กรูจะระงับทั้งหญิงแลชาย
กรูจะระงับทั้งคนไข้แลผอมเหลือง
มิให้เลื่องลือทั้งจักวาฬ
โอมระงับ หหาระงับ
โอมแหน่ง มหาแหน่ง
โอมแข็ง มหาแข็ง คือกำแพงเพชรทั้งเจ็ดชั้น มันตราตรึง
โอมแหน่ง มรึงอย่าได้ออกปากกรูได้
โอมเทาเทา เนาเนาเหงาง่วงงวยงนสวาหับ หลับหลับสวาโหม ๚๛

มหามณีจินดามนต์ (คาถาเรียกปลา เมตตามหานิยม)

มหามณีจินดามนต์



            ๐ สิทธิการิยะ พระมนต์บทหนึ่งบทใดมีอานิสงค์ทางเมตตามหานิยม มาแต่สมัยโบราณ ท่านเรียกขานในนาม "มหาจินดามณีมนต์" ซึ่งพระมนต์บทนี้จักบังเกิดอานิสงค์ได้หลากวิธี หากใช้ในทางเมตตามหานิยมก็ใช้การสวดถ้วน หรือนำเส้นเกศาของคนที่จักทำคุณ มาเสกด้วยก็จะเป็นได้ หากจักใช้เรียกปลาก็ให้นำเอาแผ่นศิลาหินก้อนใหญ่มาเป็นแท่นรองฝ่าเท้า จึงหันหน้าเข้าธารน้ำอันมีหมู่ปลาอาศัยอยู่ แล้วสวดบ่นพระมนต์บทนี้ ปลาทั้งหลายทั้งปวงจะเข้ามาให้โดยง่าย พระมนต์บทนี้มีชื่อเสียงมาในสมัยโบราณ เพราะพระเวทอื่นโดยจำเพาะอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘ หรือคาถาดอกไม้สวรรค์ยังโด่งดังมิเท่าพระมนต์บทนี้ พึงพิจารณาได้จากนิทานพื้นบ้าน ด้วยดังขุนช้าง-ขุนแผน สังข์ทอง เป็นเบื้องตัน
  

มหาจินดามนต์ในเรื่อง สังข์ทอง
           ๐ มาเอ่ยมาถึง                         ซึ่งเนินบรรพตภูเขาใหญ่
แลไปเห็นคนบนต้นไทร                 งามวิไลผิวผ่องดั่งทองทา
ยืนพินิจพิศเพ่งอยู่เป็นครู่                ลูกรักของกูแล้วสิหน่า
ตบมือหัวเราะทั้งน้ำตา                    ร้องเรียกลูกยาด้วยยินดี
อันพระเวทย์วิเศษของแม่ไซร้       ก็จะเขียนลงไว้ให้ที่แผ่นผา
จงเรียนร่ำจำไว้เถิดขวัญตา             รู้แล้วอย่าว่าให้ใครฟัง
อันรูปเงาะไม้เท้าเกือกแก้ว             แม่ประสิทธิให้แล้วดังปรารถนา
ยังมนต์บทหนึ่งของมารดา             ชื่อว่า มหาจินดามนต์
ถึงจะเรียกเต่าปลามัจฉาชาติ
          ฝูงสัตว์จตุบาทในไพรสณฑ์
ครุฑาเทวาชั้นบน                             อ่านมนต์ขึ้นแล้วก็มาพลัน
เจ้าเรียนไว้สำหรับเมื่ออับจน         จะได้แก้กันตนที่คับขัน
แม่ก็คงจะตายวายชีวัน                    จงลงมาให้ทันท่วงที


มหาจินดามนต์ในเรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผน
๐ ขุนแผนเสกซัดข้าวสารปราย      ผีร้ายหมอบกราดลงดาดป่า
ซ้ำเป่าอาคมลมจินดา                       ให้ฝูงผีมีเมตตาไปทุกตน
ขุนแผนว่าข้าแต่เทพารักษ์              อันเรืองฤทธิ์สิทธิศักดิ์ทุกแห่งหน
ท่านจงยกพยุหบาตรปีศาจพล       ไปประจญอารักษ์หลักเชียงอินทร
ด้วยว่าเจ้าเชียงใหม่ไม่ครองธรรม  ถึงกรรมเมืองจะแหลกแตกสิ้น
จงช่วยเรามาอาสาแผ่นดิน              เชิญมากินเครื่องเซ่นอย่าเว้นตัว
เทพเจ้าเหล่าโขมดมายา                  ต้องมนตร์จินดาก็ยิ้มหัว
ต่างรับอาสาว่าอย่ากลัว                   จะช่วยท่านเรียงตัวทั่วทั้งนั้น

คาถามหาจินดามณีมนต์ ตำหรับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ 


๐ สิทธิวิชามหามันตัง                      จินดามณีทิวากะรังภูมิยา
โจระปัตตัสมิง ทิพพะจักขุง           ถาวะทิสสะเร จันทะเทวี
อัสสะมุขี ทุติยาปะทะลักขณา        มณีจินดา ปิยัง ปัญจะทานัง
ยะสังทาลิถาสัง โกมัง                     ปะสันติ สิเนหัง มาตา
ปุตตังวะโอระตัง มณีจินดา            สหัสสะโกฏิเทวานัง
มนุสสะเทวานัง สมณะจิตตัง         ปุริสะจิตตัง  อาคัจฉาหิ
ปริเทวันติ ปิยัง มะมะ                      สัพเพชนา พหูชนา             
มหามณีจิดา  เอหิ พุทธัง                 ปิโย  เทวะมนุสสานัง
มณีจินดา เอหิธัมมัง                         ปิโย พรหมานะมุตตะโม
มณีจินดา เอหิ สังฆัง                        ปิโย นาคะสุปัณณานัง
ปิยินทรียัง นะมามิหัง                       พุทโธ โส ภะคะวา
ธัมโม โส ภะคะวา                            สังโฆ โส ภะคะวา
อินทะสิเน่หา พรหมะสิเน่หา         อิสสระสิเน่หา ราชา เทวี
มนตรีรักขัง จิตตังสระณัง จิตตังมะมะฯ


จากเหตุว่าเรื่องสังข์ทอง มีโครงเรื่องมาจากนิทานชาดกของภาคเหนือ ที่เรียกว่า "สุวัณสังขชาดก" ดังนั้นจึงมีคาถามหาจินดามนต์ที่เป็นของภาคเหนือโดยเฉพาะ


คาถามหาจินดามณี สายล้านนา
สำนวนที่ ๑
มณีจินต๋า ปิยังมังจะธะนังสัสสังสะต๋าปิโก๋มังปัสสะติสีเนหังตัสสะรูเป๋ อะภิมุปัสสะติฯ

สำนวนที่ ๒
จินต๋า มณี ปิยัง ปัญจะธะนังยัสสะปาสาทาสิเน โก๋มังปัสสะติ สิเนหังตัสสะรูเป๋นะทุกขะตะอัพภิภูต๋าปิมุตตัสสะสิเนเหวะมะทา สิโยโยสิโหกะละปะติกันตั๋ง นะสะทิโสเมยาจ๋าภาลังสะรังจิตตั๋ง เอวังธัมมาสุภาสิต๋า ฯ

สำนวนที่ ๓
จินต๋า มณี ปิยังเมยหัง สัพพะธะนังสุวัณณะ รัชชะฏะสัมปันโน ยะโสโภคาหิสัตตะรัตตะนะมะยังจตุทิสาอาคัจเฉยยะ ธะนังมะตั๋งพะลังอานุภาเวนะ สัพพะธะนัง วุทธิพะลังโหตุนิจจังฯ
 
ดังได้พรรณนามาก็ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

หมายเหตุ รูปภาพใช้ประกอบบทความเท่านั้น

กสิสูตร พืชมงคลคาถา

กสิสูตร พืชมงคลคาถา


            คาถาพืชมงคล เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคล โดยพระองค์ทรงกสิสูตรบทนี้ในการพระราชนิพนธ์คาถาพืชมงคล  เริ่มต้นด้วยคำนมัสการสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้า อัญเชิญพระคาถาที่พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องการทำ นาแก่พราหมณ์ในกสิสูตร คาถาอันเป็นภาษิตของพระเตมีย์โพธิสัตว์ เกี่ยวกับการไม่ประทุษร้ายต่อมิตร และอัญเชิญเกี่ยวกับพระราช หฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตาแก่ประชาราษฎร ตั้งพระราชหฤทัยบำรุงให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าเป็นสัตย์จริง การ อธิษฐานโดยขออำนาจความสัตย์ ขอให้ข้าวไทยจงงอกงาม
            อถรรธิบายว่า กสิสูตรนี้มีอานิสงค์ทำให้พืชงอกงามดี ธัญญาหาร ผลาหารอุดมณ์สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยน้ำทำการกสิกรรม พืชดีไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ไร้แมลงมาทำลายต้นข้าวและพืชผักสวนครัว ประดุจดังอถรรคาถาบาลีแปลว่า “ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวังนำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
กสิภารทฺวาชสุตฺตํ
            เอวํ เม สุตํ  เอกํ สมยํ ภควา มคเธสุ วิหรติ ทกฺขิณาคิริสฺมิํ เอกนาฬายํ พฺราหฺมณคาเมฯ เตน โข ปน สมเยน กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส ปญฺจมตฺตานิ นงฺคลสตานิ ปยุตฺตานิ โหนฺติ วปฺปกาเลฯ อถ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย เยน กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส กมฺมโนฺต เตนุปสงฺกมิฯ
            เตน โข ปน สมเยน กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส ปริเวสนา วตฺตติฯ อถ โข ภควา เยน ปริเวสนา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา เอกมนฺตํ อฎฺฐาสิฯ อทฺทสา โข กสิภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺตํ ปิณฺฑาย ฐิตํฯ ทิสฺวา ภควนฺตํ เอตทโวจ
            อหํ โข, สมณ, กสามิ จ วปามิ จ,
กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชามิฯ ตฺวมฺปิ
, สมณ,
กสสฺสุ จ วปสฺสุ จ, กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชสฺสูติฯ
            อหมฺปิ โข
, พฺราหฺมณ, กสามิ จ วปามิ จ,
กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชามีติฯ
น โข มยํ ปสฺสาม โภโต โคตมสฺส ยุคํ วา
นงฺคลํ วา ผาลํ วา ปาจนํ วา พลีพเทฺท วา
,
อถ จ ปน
 ภวํ โคตโม เอวมาห
            อหมฺปิ โข, พฺราหฺมณ, กสามิ จ วปามิ จ,
 กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชามีติ ฯ อถ โข กสิภารทฺวาโช
พฺราหฺมโณ ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ
กสฺสโก ปฎิชานาสิ, น จ ปสฺสามิ เต กสิํ
กสฺสโก ปุจฺฉิโต พฺรูหิ, กถํ ชาเนมุ ตํ กสินฺติฯ
สทฺธา พีชํ ตโป วุฎฺฐิ, ปญฺญา เม ยุคนงฺคลํ
หิรี อีสา มโน โยตฺตํ, สติ เม ผาลปาจนํฯ
กายคุโตฺต วจีคุโตฺต, อาหาเร อุทเร ยโต
สจฺจํ กโรมิ นิทฺทานํ, โสรจฺจํ เม ปโมจนํฯ
วีริยํ เม ธุรโธรยฺหํ, โยคเกฺขมาธิวาหนํ
คจฺฉติ อนิวตฺตนฺตํ, ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจติฯ
เอวเมสา กสี กฎฺฐา, สา โหติ อมตปฺผลา
เอตํ กสิํ กสิตฺวาน, สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติฯ
ภุญฺชตุ ภวํ โคตโมฯ กสฺสโก ภวํฯ ยญฺหิ ภวํ
โคตโม อมตปฺผลมฺปิ กสิํ กสตีติ
 
คาถาภิคีตํ เม อโภชเนยฺยํ,
สมฺปสฺสตํ พฺราหฺมณ เนส ธโมฺม
คาถาภิคีตํ ปนุทนฺติ พุทฺธา,
ธเมฺม สติ พฺราหฺมณ วุตฺติเรสาฯ
อเญฺญน จ เกวลินํ มเหสิํ,
ขีณาสวํ กุกฺกุจฺจวูปสนฺตํ
อเนฺนน ปาเนน อุปฎฺฐหสฺสุ,
เขตฺตญฺหิ ตํ ปุญฺญเปกฺขสฺส โหตีติฯ
            เอวํ วุเตฺต กสิภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺตํ เอตทโวจ  อภิกฺกนฺตํ, โภ โคตมเปอชฺชตเคฺค ปาณุเปตํ สรณํ คตนฺติฯ

คำแปล
            ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อว่าเอกนาลา ในทักขิณาคีรีชนบทแคว้นมคธ ก็ในสมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทียมไถมีจำนวน ๕๐๐ ในกาลหว่านข้าว ฯ
            ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่ ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ในเวลาเช้า ฯ
สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหาร (มื้อเช้า) ฯ
            ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงอาหาร (ของเขา) ครั้นแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
            กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่  ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่านครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ
            กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก  หรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าวอย่างนี้ว่า  ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ
            ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาว่าพระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัสบอก ไฉน ข้าพระองค์จะรู้การทำนาของพระองค์นั้นได้ ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวังนำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ
            เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ
            กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนา ขอจงบริโภคอมฤตผลที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่พึงบริโภคโภชนะ ซึ่งได้เพราะความขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ นี่เป็นธรรมของบุคคล  ผู้เห็นอรรถและธรรมอยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความเป็นไป (อาชีวะ) นี้ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านจงบำรุง ซึ่งพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่ มีความคะนองระงับแล้วด้วยข้าวน้ำอันอื่น ด้วยว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้มุ่งบุญ ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

เห็ดหลินจือ ราชาแห่งสมุนไพรอันน่าพิศวง

เห็ดหลินจือ ราชาแห่งสมุนไพรอันน่าพิศวง


                        ทุกคนคงเคยรู้จัก เห็ดหลินจือ กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะชื่อว่าเห็ดหลินจือ ผมเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินชื่อนี้และในตำรายาจีนหลายเล่มไม่ว่าจะเป็น เสินหนงเปิ๋งเฉ่าจิง คัมภีร์ไทผิงเซิ่นอุ้ยฟัง ก็มีการใช้เห็ดหลินจือเป็นตัวยาสำคัญ ในเสินหนงเปิ๋งเฉ่าจิงนั้น กล่าวว่า เห็ดหลินจือเป็น "เทพเจ้าแห่งชีวิต" มีพลังมหัศจรรย์ เป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยทำให้ชีวิตยืนยาวต่อไปได้เช่นเดียวกับโสมที่ช่วยให้อายุยืนขึ้นอีกนิดหน่อย แต่กระนั้นโรคบางโรคหลินจืออาจจะก็ใช้รักษาไม่ได้โดยตรง หลินจือเป็นแค่ยาช่วยชีวิตไม่ใช้ยารักษา เช่นถ้าถูกพิษเมื่อหลินจือรักษาก็แค่ยื้อชีวิตได้อีกเล็กน้อยเท่านั้นต้องใช้ยาถอนพิษในการรักษาถึงจะถูกต้อง (ใช้ยาให้ถูกกับโรค)

                        ในการศึกษาวิจัยความเป็นพิษของเห็ดหลินจือ
การศึกษาทางพิษวิทยาของเห็ดหลินจือทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังพบว่า มีความเป็นพิษต่ำมากและมีความปลอดภัยในการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 

                        เห็ดหลินจือ อยู่ในอาณาจักรฟังไจ (เห็ดรา) มีอยู่หลายวงศ์สกุลกว่า
100 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ เห็ดหลินจือแดง กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) พบว่ามีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด และมีความนิยมมากที่สุดด้วยเช่นกัน เห็ดหลินจือยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อทั้ง เห็ดหมื่นปี เห็ดเล่งจือ เห็ดขอนไม้ เห็ดจวักงู เห็ดกระด้าง เห็ดไม้ เห็ดนางกวัก ฯลฯ ชอบขึ้นอยู่ตามพื้นดินขอนไม้ หรือต้นไม่ในสภาพอากาศเย็นและมีความชื้นสูง
                                    เห็ดหลินจือมักขึ้นบนขอนไม้ พื้นดิน ในสภาพเน็นชื้น

                        สายพันธุ์ของเห็ดหลินจือที่ถูกนำมาใช้มีสองสายพันธุ์หลักคือเห็นหลินจือแดง ตามชื่อเลยคือมีสีแดง และเห็ดหลินจืดดำ ก็ตามชื่ออีกเช่นกันว่ามีสีดำ
              เห็ดหลินจือแดงที่หั่นเป็นแผ่นๆ       เห็ดหลินจือแดงธรรมชาติ

                        เห็ดหลินจือแดง มีลักษณะเป็นราขนาดใหญ่ ที่มีรูปร่างคล้ายไต สีแดงอมน้ำตาล หรือสีม่วงแก่ มีลายวงแหวน มีความวาวเป็นมัน มีลักษณะแข็งเหมือนเนื้อไม้ ปลายรอบนอกสุดของหมวกเห็ดบาง และม้วนเข้าด้านในเล็กน้อย ผิวในของหมวกเห็ดมีสีขาว หรือน้ำตาลอ่อน ก้านดอกเห็ดมีสีน้ำตาลแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซ.ม. หรือมากน้อยกว่านั้นตามอายุของเห็ด
      
            เห็ดหลินจือดำที่หั่นเป็นแผ่น                 เห็ดหลินจือดำธรรมชาติ

                        เห็ดหลินจือดำ มีรูปร่างเช่นเดียวกับเห็ดหลินจือแดง รูปร่างคล้ายไต แต่มีสีดำ หรือสีเทาแก่ มีลายวงแหวน ผิวเป็นคลื่นๆและมีความมันวาว เนื้อเห็ดเหนียวและแข็งเหมือนเนื้อไม้ ปลายรอบสุดของหมวกเห็ดบาง ม้วนเข้าด้านในผิวในของหมวกเห็ดเป็นสีขาว  ก้านดอกมีสีดำหรือเทาเข้ม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซ.ม. หรือมากน้อยกว่านั้นตามอายุของเห็ด 



                        โดยทั่วไปแล้วเห็ดหลินจือสามารถขึ้นเป็นดอกเดียว หรือขึ้นเป็นลุ่มๆ หลายๆดอกได้ อีกทั้งยังสามารถแตกกิ่งก้านสาขาเป็นหลายดอกเป็นพวงได้ ออกดอกเป็นดอกแฝดสอง ดอกแฝดสาม หรือมากกว่านั้นได้ ลักษณะแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกัน บางพันธุ์ผิวแววมัน บางพันธุ์ผิวเรียบสีด้าน บางพันธุ์ผิวขรุขระมันแววหรือสีด้าน บางพันธุ์สีเหมือนเนื้อไม้ที่เห็ดหลินจือขึ้น แต่ลักษณะที่คล้ายๆกันคือรูปทรง รูปร่างของเห็ด ความแข็งของผิวและเนื้อเห็ด (ความแข็งแรงบางครั้งใช้ทุบคน ปาหัวหมาก็ได้) ในมุมมองของผู้เขียนที่เคยพบเห็นเห็ดหลินจืออยู่บ่อยครั้งบางครั้งก็พบเห็ดหลินจือที่มีรู้ร่างแปลกตาเช่น รูปโถรูปถ้วย รูปตะพาบรูปเต่า ทั้งสวยงามทั้งแปลกหูแปลกตา

                          เห็ดหลินจือเหลือง (หลากสี)        เห็ดหลินจือแดงรูปขดหอย

                           เห็ดหลินจือแดงกิ่งก้านสาขา       เห็ดหลินจือแดงออกดอกเป็นพวง

                        อนึ่งเห็ดหลินจือในสายตาของชาวบ้านทั่วไปที่ไม่รู้จักนั่นก็ยากที่จะแยกเห็ดหลินจืดออกจากเห็ดพิษจึงยากที่จะเก็บมาใช้รักษาเพราะรูปร่างมันสวยงามแปลกเห็นน่านำมาวางประดับประดาบ้านเรือนมากกว่าการนำมาต้มกิน ซึ่งกลัวว่าจะมีพิษจริงๆแล้วเห็ดหลินจือจริงๆนั้นไม่ใช่เห็ดพิษ ด้วยลักษณะแข็งกระด้างเหมือนเนื้อไม้ แต่บางเห็ดที่แข็งเช่นกันเมื่อโดนไม้หรือวัตถุอะไรขีดขวั่นแล้วเป็แผลมียางสีขาวสีแดงออกมาดูน่ากลัวนั่นก็สาเหตุหนึ่งที่ใช้อันนั้นก็น่าสนใจอาจจะไม่ใช่เห็ดหลินจือก็ได้ แต่เท่าที่ศึกษาเห็ดหลินจือแล้วเป็นเนื้อไตๆแข็งๆและแห้ง ซึ่งจะใช่จำแนกจากเห็ดชนิดอื่นได้
                ก้านเห็ดหลินจือแดง             ขอบหมวกเห็ดหลินจือแดงธรรมชาติ


                  
                  เห็ดหลินจือเหลืองธรรมชาติ                          เห็ดหลินจือเหลืองธรรมชาติ

                        การกินเห็ดหลินจือโดยตรงนั้นไม่ขอแน่ะนำเพราะลักษณะของเห็นแข็งเหมือนเยื้อไม้ไม่เหมาะที่จะกินแค่เคี้ยวก็ไม่ขาดแล้ว และบดเป็นผงใส่แคปซูลรัปประทานอันนี้ก็ไม่เหมาะเพราะเอนไซม์ในร่างกายเราย่อยไม่ได้ ควรนำมาต้มก่อน ส่วนที่ใช้ต้มคือดอกเห็ดหลินจือที่ผ่า ฝาดเป็นแผ่นๆชิ้นเล็กๆ หรือหั่น บดเป็นผงก็สามารถนำมาใช้ต้มได้ ส่วนที่เป็นผิวแข็งเยื้อหุ้มเห็ดนั้นเป็นเสมือนผนังเกาะป้องกันตัวเห็ด แต่ส่วนที่มีประโยชน์จริงคือสปอร์เห็ดที่เกาะตามดอกเห็ดและเนื้อเห็ดด้านใน ดั้งนั้นการหั่นบดผ่าแล้วนำมาต้มจะดึงเอาสปอต์เห็ดหลินจือออกมาได้ดีกว่าการต้มทั้งดอก แต่ถ้าจะให้ได้ประโยชน์จริงๆคือสารสกัดจากเห็ดหลินจือ แต่ราคาแพงดังนั้นเห็ดหลินจือต้มนี้แหละเหมาะสมที่สุดแล้ว


วิธีบริโภค ที่ให้คุณประโยชน์จากน้อยไปหามาก  

                        1. แบบยาบดบรรจุแคปซูล ใช้วิธีเอาเห็ดไปบด ให้ละเอียดแล้วนำไปบรรจุแคปซูล วิธีนี้ต้นทุนต่ำและราคาถูก แต่ได้สาระสำคัญจากเห็ดหลินจือน้อยมาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยสกัดเอาสารสำคัญออกมาได้ทั้งหมด

                        2. แบบยาต้มเอาน้ำมากินเป็นยา หรือดองเหล้า เอาน้ำมากินเป็นยา วิธีนี้ต้นทุนต่ำ ราคาถูก ได้รับประโยชน์จากเห็ดหลินจืออกมาได้ในระดับกลาง เนื่องจากเห็ดหลินจือประกอบด้วยสารที่สามารถละลายน้ำได้
                        3. แบบยาสกัดบรรจุแคปซูล ใช้วิธีสมัยใหม่สกัดเอาตัวยาออกมาแล้วนำไปบรรจุแคปซูล วิธีนี้ต้นทุนสูงราคาแพง แต่ได้ปริมาณสารสำคัญในเห็ดหลินจือที่มีประโยชน์ครบถ้วนมากที่สุด

สรรพคุณ

 
                       ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน 

                        ปัจจุบันนี้สรรคุณที่ยอมรับตามกฎหมายคือ เป็นสมุนไพรบำรุงกำลัง สมุนไพรบำบัด ยังไม่เหมาะแก่การนำมารักษา แต่ก็เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิดและรู้จักกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกาก็มีการทดลองใช้และศึกษาวิจัยสรรพคุณทางเภสัชวิทยาของเห็ดหลินจือในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และการบำบัดรักษาโรคเรื้อรังต่างๆในระยะแรกและระยะสุดท้าย
นอกจากนี้ยังนำมาศึกษาในการยับยั้งเซลล์มะเร็งอีกด้วย


องค์ประกอบทางเคมีที่พบในเห็ดหลินจือ
1. โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์หลายชนิด มีโครงสร้างหลักเป็น เบต้า-ดี-กลูแคน
2. ไทรเทอร์ปีนอยด์ ( Triterpenoids ) มีโครสร้างเป็น Lanostanoid พบมากกว่า 60 ชนิด เป็นสารที่มีรสขม
3. สเตียรอยด์ ( Steriods ) ที่สำคัญ คือ ergosterol
4. โปรตีน ที่สำคัญ คือ Ling Zhi-8 ประกอบด้วยกรดอะมิโน 110 โมลิกุล มีคาร์โบไฮเดรตในโมลิกุล 1.3%
5. นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์ (Nucleisides and Nuleotides)
6. ไลปิดส์ (Lipids) ได้แก่ behenic acid , lignoceric acid , linoleic acid , nonadecanoic acid , oleic acid , paimiyic acid , stearic acid และ tetradec-cis-9-enoic acid
7. สารกลุ่มอื่นๆ กลุ่ม sesquiterpenes เช่น 15- hydroxyacorenone กลุ่ม quinoids เช่น crysophanic acid , crysophanic acid glucoside สารประกอบกำมะถัน เช่นcyclooctasulfur สารประกอบอินทรีย์ เช่น germanium



สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยา
1. กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ชนิดขม (Bittertriterpenoids) เป็นสารสำคัญทางยาที่มีความแตกต่างกันกว่า 100 ชนิด ใช้รักษาโรคภูมิแพ้โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง ปกป้องตับ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ และช่วยต่อต้านสารที่มีพิษต่อตับ สารที่มีส่วนสำคัญในการรักษาโรคคือ กรดกาโนเดอริค (Ganoderic acidA, B, C1, C2, D-K, R-Z) และกรดลูซิเดนิค (Lucidenicacid) ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรสารไตรเทอร์ปินนอยด์แฟรกชันของเห็ดหลินจือ โดยมีข้อบ่งชี้ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และยังมีการจดสิทธิบัตรสารกาโนโดสเตอโรน (Ganodosterone) เป็นยาเม็ด 5 mg โดยมีข้อบ่งชี้ใช้กระตุ้นการทำงานของตับ (Liverfunction stimulant)
2. เออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ใช้ป้องกันโรคกระดูกและรักษาในผู้ป่วยโรคกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทอง
3. กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) มีสรรพคุณรักษาโรคหัวใจ ป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดจากลิ่มเลือด สารที่มีส่วนสำคัญต่อผลการรักษา คือ สารอะดีโนไซน์ (Adenosine) กัวโนไซน์ (Gaunosine)และอัลคาลอยด์ (Alkaloids)
4. สารประกอบเยอร์มาเนียม (Germanium,Gc contents) เป็นสารที่มีสรรพคุณส่งเสริมระบบการทำงานของร่างกายให้แข็งแรง กำจัดพิษและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ มีการศึกษาใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันเพื่อกำจัดพิษ และลดอาการไม่พึงประสงค์จากยารักษามะเร็งได้
5. กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) สรรพคุณ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ต่อต้านสารแพ้ ต่อต้านเชื้อไวรัสเริม งูสวัด และเชื้อ HIV ลดภาวะแทรกซ้อนจาก
การใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งสำหรับสารที่มีสรรพคุณทางยา คือ กาโนเดอแรนส์(Ganoderans A, B, C) และสารเบต้าดีกลูแคน(Beta-D-Glucan)




สุดท้ายนี้ เตือนสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้เห็ดหลินจือ ถ้าท่านนำมาใช้แรกๆจะมีอาการผิดปกตินั่นเพราะร่างกายกำลังปรับสมดุล อาจจะรู้สึกมึนศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ง่วงนอน ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียน อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก มีปัสสาวะบ่อย หรือจะมีผลลักษณะอาการของโรคนั้น ๆ  แต่ถ้าอาการหนักควรไปพบแพทย์ดีกว่า