จุทฺทสมคาถา (คาถาปโชตา)

จุทฺทสมคาถา (คาถาปโชตา)

       ปโชตา บางฉบับได้แสดงเรือนยันต์ทั้ง ๑๔ บท พร้อมทั้งคำอธิบายที่ผูกไว้เป็นภาษาบาลีบางบท พร้อมทั้งบอกชื่อกลบทที่ใช้ในการลงยันต์และระบุชื่อบุคคลสำคัญทั้งทางพุทธจักรและอาณาจักร นำยันต์แต่ละบทไว้สักการบูชานับถือครอบครอง(ทือ)เป็นยันต์ประจำตนด้วย พร้อมกันนี้ ผมได้นำบทสวด จุททสมคาถา(ปโชตา)ทั้ง ๑๔ บทในสำนวนบาลีที่ปรากฎใน พับสาสัททาพินทุหลวง ของครูบาเตชะ วัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน มานำเสนอประกอบกันเพื่อความเข้าใจ และผู้ที่สนใจอยากนำไปท่องสวดสาธยายต่อไป สามารถจำแนกได้ดังนี้

ปโชตา ธมฺมภา โหตุ โชติวโร สตาวโห
ตาวริโย สุวตาภา ธโร โยโค จ สุ สมฺมา      // อทฺธราม ปถมคาถา//
โภโนชิโย โยชิโนโภ โนปาตุโส โสตุปาโน
ชิตุโนม มโนตุชิ โยโสนภิ ภิมโสโย            //สพฺพโตภทฺร ทุติยคาถา//
นมามิตํ นรวรํ นเยหิส นรามรํ
เนตฺวา มตํ ปรติรํ นิพฺพุตฺโต สพฺภิโย ปรํ       //อฏฺฐกฺขจกฺก ตติยคาถา//
โนธิโร มุนิโน มโน โนมโน ทมโน ธิโน
โนธิ โนตฺถํ คมาโน โนโตมาโร ธิโน อูโน       //ราสีจกฺก จตฺตุตฺถคาถา//
กรุณาธิ กจิตฺตตฺโถ กตาตฺโถ สกธมฺมโท

กตนเม กพุทฺธสฺส กตญฺชุลึ(ลิง) กโรมิหํ        //ปทุมฏล ปญฺจมคาถา//
มโนชิโต มโตชิโน มโนภิโต มโตภิโน
มโนธิโร มโรธิโน มโรตฺตโน มโนตฺตโร         //จตุกฺก ฉฏฺฐมคาถา//
นมามิ นาถํ วรทํ วราทํ อโนมเกหาภินตํ ภวคฺคํ
กุมารนาสํ วราทํ นรานํ อกามเทหาภินตํ ภชฺชนนฺติ      //โคมูตฺตวลี สตฺตมคาถา//
โย โพธิปตฺเต วรโท นรานํ เทวาติเทโวภิตมารนาโส
โยคาธิมุตฺโต สรโส มรานํ โอวาทเทตํ ภินมามินาถํ     //สกฺขบุพฺพ อฏฺฐมคาถา//
โย เทติเทวเทโวคฺคํ มคฺคํ โนคฺคํผลํตโต

นมามิตํ รหมคฺคํ โนโสปาเลตฺวาปายโต               //นวมคาถา สรีขคฺคเชยฺย//
นมามิพุธฺธํ ตมหํธิโย ธิโย นมามิธมฺมํ ตมหํชิโย ชิโย
นมามิสงฺฆํ ตมหํริโย ริโย นมามิติคฺคํ ตมหํ ภิยฺโย ภิยฺโย //อนฺตยมก ทสมคาถา//
นมามิตํ โย วินายสฺส นายเก นรามเรหิ ภินโต วินายโก

ชิโนริเชยฺโย วิมโล วิโมจโก ปชฺชามพุเชติ พุทฺโธ ปโพธโก //วํสฐานจกฺก เอกาทสมคาถา//
มุนิโน วทนาภาย ปโพเธตุ ปชฺชาปชฺชํ
มุนิโน วทนาภาย ปโพเธตุ ปชฺชาปชฺชํ         //นาคปาส ทวฺาทสมคาถา//
สิริกิรณ กิรโฐ ภาสปาททฺวอคฺคํ สิริกิรณภิมานํ มารมนฺตํ วิธิสตํ
สิริกิรณนิเกตํ เกตุเมกญฺจ ติโลเก สิริกิรณกรคฺคํ โลกนาถํ นมามิหํ //สรีธชวิชวฑฺฒน เตรสมคาถา//
ติโลกมคฺคาหนโก มตํ นเย สวาสนํ โย ห มลํ ปธํสยิ
ติโลกมคฺคา หนโกมตํ นเย ปเคว นิพฺพานปุรํ ปเวสิเย  //สรีวิเชฺชยฺยอาวุทฺธ จุทฺทสมคาถา//

๑.ชื่อ อทฺธราม ปถมคาถา
ปโชตา ธมฺมภา โหตุ โชติวโร สตาวโห
ตาวริโย สุวตาภา ธโร โยโค จ สุ สมฺมา
สังฆราชาพระสิงกุกาม มหานันทารามะชาวใต้ ทือ(ครอบครอง) ค้ำชู ยส สรี สัมปัตติข้าวของแล ฯ

๒.ชื่อ สพฺพโตภทฺร ทุติยคาถา
โภโนชิโย โยชิโนโภ โนปาตุโส โสตุปาโน
ชิตุโนม มโนตุชิ โยโสนภิ ภิมโสโย
มหาพูกาม มหาสีเกียร ทือ ค้ำชู ยส สรี สัมปัตติข้าวของดั่งปฐมะคาถาแล ฯ

๓.ชื่อ อฏฺฐกฺขจกฺก ตติยคาถา
นมามิตํ นรวรํ นเยหิส นรามรํ
เนตฺวา มตํ ปรติรํ นิพฺพุตฺโต สพฺภิโย ปรํ
มหาธัมมสาเจติยะทือแล ห้ามอุปัทวะอนตรายทั้งมวลแล ฯ

๔.ชื่อ ราสีจกฺก จตฺตุตฺถคาถา
โนธิโร มุนิโน มโน โนมโน ทมโน ธิโน
โนธิ โนตฺถํ คมาโน โนโตมาโร ธิโน อูโน
ห้ามอุปัทวะ ดั่งตติยคาถาแล ฯ

๕.ชื่อ ปทุมฏล ปญฺจมคาถา
กรุณาธิ กจิตฺตตฺโถ กตาตฺโถ สกธมฺมโท
กตนเม กพุทฺธสฺส กตญฺชุลึ(ลิง) กโรมิหํ
มหาราชครูป่าแดงแปลงหื้อแสนขนานกอมทือ พระญาแก้วทือ
เปนที่รักจำเริญใจแก่ฅนแลเทวตาทั้งหลาย แลจำเริญด้วยข้าวของสัมปัตติทั้งมวลแล ฯ

๖.ชื่อ จตุกฺก ฉฏฺฐมคาถา
มโนชิโต มโตชิโน มโนภิโต มโตภิโน
มโนธิโร มโรธิโน มโรตฺตโน มโนตฺตโร
ราชโมลีหมื่นทือ แล ท้าวมหาพรหมทือ ไว้ในเวียงกุมกามค็วุฑฒิด้วยเข้าของมากนัก
ชนะข้าเสิ้กสัตรู ฅนอันมีใจคดเลี้ยวทั้งมวลแล ฯ

๗.ชื่อ โคมูตฺตวลี สตฺตมคาถา
นมามิ นาถํ วรทํ วราทํ อโนมเกหาภินตํ ภวคฺคํ
กุมารนาสํ วราทํ นรานํ อกามเทหาภินตํ ภชฺชนนฺติ
มหาสัทธะโพธิแสนกัง มหาสิริมํคลเจติยะทือ แล มหาแสนตมกิวัดมหาเจติยะหลวง
เพื่อประจญแพ้(ชนะ)แก่ฅนทั้งหลายผู้มีใจคดเลี้ยว มายาสาไถย บ่ซื่อแก่เราแล ฯ

๘.ชื่อ สกฺขบุพฺพ อฏฺฐมคาถา
โย โพธิปตฺเต วรโท นรานํ เทวาติเทโวภิตมารนาโส
โยคาธิมุตฺโต สรโส มรานํ โอวาทเทตํ ภินมามินาถํ
มหาสังฆราชาวัดปราสาททือ มหาญาณกุฏีฅำทือ สวาดธิยายมีเตชะมากนัก
ปราบแพ้(ชนะ)แก่ฅนทั้งหลายผู้มีใจคดเลี้ยว มายาสาไถย บ่ซื่อแก่เราแล ฯ

๙.ชื่อ นวมคาถา สรีขคฺคเชยฺย
โย เทติเทวเทโวคฺคํ มคฺคํ โนคฺคํผลํตโต
นมามิตํ รหมคฺคํ โนโสปาเลตฺวาปายโต
สังฆราชาหมื่นพล้าว สังฆราชาเชียงหมั้นทือ ลงดาบสรีกัญไชย
เพื่อประจญข้าเสิ้กสัตรูทังมวลแล ฯ

๑๐.ชื่อ อนฺตยมก ทสมคาถา
นมามิพุธฺธํ ตมหํธิโย ธิโย นมามิธมฺมํ ตมหํชิโย ชิโย
นมามิสงฺฆํ ตมหํริโย ริโย นมามิติคฺคํ ตมหํ ภิยฺโย ภิยฺโย
สรีเชยฺยโตมมํคล สังฆราชาพระสิงหื้อขนานกอมทือแล
มหาขนานอาดใต้สังฆราชาหื้อแก่ขนานกอมทือ มันธารุราชทือ
ไว้ค้ำชูสรีเตชะหื้อรุ่งเรือง ไพสงครามค็จักชนะข้าเสิ้กสัตรูแล ฯ

๑๑.ชื่อ วํสฐานจกฺก เอกาทสมคาถา
นมามิตํ โย วินายสฺส นายเก นรามเรหิ ภินโต วินายโก
ชิโนริเชยฺโย วิมโล วิโมจโก ปชฺชามพุเชติ พุทฺโธ ปโพธโก
มหาแสนทอง ปุพพารามทือ หื้อข้าเสิ้กสัตรูมีใจหลิ่งน้อมแล ฯ

๑๒.ชื่อ นาคปาส ทวฺาทสมคาถา
มุนิโน วทนาภาย ปโพเธตุ ปชฺชาปชฺชํ
มุนิโน วทนาภาย ปโพเธตุ ปชฺชาปชฺชํ
มหาสัทธัมมทัสสีฝ่ายเรา(ป่าแดง)ทือแล
รักษาเข้าของสัมปัตติบ่หื้อข้าเสิ้กสัตรูครุบชิงเอาได้ยแล ฯ

๑๓.ชื่อ สรีธชวิชวฑฺฒน เตรสมคาถา
สิริกิรณ กิรโฐ ภาสปาททฺวอคฺคํ สิริกิรณภิมานํ มารมนฺตํ วิธิสตํ
สิริกิรณนิเกตํ เกตุเมกญฺจ ติโลเก สิริกิรณกรคฺคํ โลกนาถํ นมามิหํ
มหาปุสสเทพพหมื่นสารทือแล วุฒินัก พระญาหลวงแสนตะยาย(เมือง)หังสาทือ ดีนักแล
เปนที่รักจำเริญใจแก่ฅนทั้งหลาย แลชนะข้าเสิ้กสัตรู จำเริญด้วย เตชะ ยส ข้าวของสัมปัตติทังมวลแล ฯ

๑๔.ชื่อ สรีวิเชฺชยฺยอาวุทฺธ จุทฺทสมคาถา มหาปุสสเทพพฝ่ายเราทือแล
ติโลกมคฺคาหนโก มตํ นเย สวาสนํ โย ห มลํ ปธํสยิ
ติโลกมคฺคา หนโกมตํ นเย ปเคว นิพฺพานปุรํ ปเวสิเย
หื้อลงใส่ดาบเถี่ยนอันเปนมังคละ คุณดั่งเตรสมคาถาแล/เปตยมกวํสฐาคาถา
บทนี้ มีคุณูปการมากนักแล ฯ

              ข้อมูลของคาถาปโชตาได้กระจัดกระจายอยู่ในเอกสารล้านนาหลายฉบับและมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งบทสวดที่เป็นบาลีและตัวเมือง บางฉบับบอกถึงประวัติ บ้างแสดงเป็นนิสัยแปลบาลียกศัพท์ มีกลบทที่ผูกเป็นเรือนยันต์ บ้างก็นำไปประยุกต์ใช้กับงานพุทธศิลป์และศิลปกรรมเช่น ก่อพระเจ้า(สร้างพระพุทธรูป) ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ยันต์โขงชาตา(ยันต์ผูกดวง) เป็นต้น
              จากเอกสารล้านนา พับขนานอริยวงศ์ วัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.เชียงใหม่ ที่เป็นเอกสารหลักในการใช้ศึกษา มีใจความสอดคล้องกับเอกสารฉบับอื่นๆและฉบับธัมม์ใบลานของ ครูบาจีนาเมืองหอด” (ลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิไชย) มีข้อความหลักทับซ้อนกันทุกประการ แตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น ปริวรรตได้ว่า
“…จุทฺทสมคาถา ๑๔ บทนี้เกิดใน เมืองลังกา อรหันตาเจ้าขอดไว้ในเมืองลังกา หื้อพระญาสัทธาติสสะจำเริญไหว้ พระญาสัทธาติสสะได้จำเริญยังคาถา ๑๔ บทนี้ค็วุฑฒินัก เสิวยรามสัมปัตติในเมืองลังกาทวีปเสี้ยงจิรกาลเมินนาน อายุค็ยืนหาพยาธิโรคาบ่ได้ ปราบแพ้ข้าเสิกทังมวลแล กาละนั้นพระเจ้าเรานิพพานแล้วได้ ๒๑๘ ปลีแล ตั้งอยู่ในเมืองลังกาเมินนาน ลำดับสืบสืบมาเถิงกาละเมื่อ จุฬสกราชได้ ๘๐๐ ปลาย(พ.ศ.๑๙๘๕) พระญาติโลกได้เสวยราชสัมปัตติในเมืองเชียงใหม่ ยังมีมหาเถรเจ้าตน๑ ชื่อว่า เชยยมังคละ อยู่วัดมหาธาตุเจ้าหริภุญเชยย์ ได้ไพไหว้พระทันตธาตุในเมืองลังกา แล้วแสวงหายังสวาตรสิปปธัมม์อันประเสริฐในสำนักแห่งครูบานักปราชญ์เจ้าทังหลาย แล้วครูบานักปราชญ์เจ้าทัหลายค็หื้อคาถา ๑๔ บทนี้แก่มหาเถรเจ้าตนชื่อ เชยยมังคละแล
              เชยยมังคละเถรเจ้าค็แต้มเขียนเรียนเอาคุรุปเทศวิธีทังมวล แล้วค็คืนสู่เมืองหริภุญเชยย์อยู่วัดหลวงเปนตนอุปปัฏฐากมหาธาตุเจ้าหริภุญเชยย์ ได้หื้อพระญาติโลกจำเริญสวาดธิยาย พระญาติโลกได้จำเริญสวาดธิยายไหว้พระเจ้าด้วยคาถาทังหลาย ๑๔ บทฝูงนี้ค็วุฑฒินัก เสิวยราชสัมปัตติในเมืองเชียงใหม่เสี้ยงจิรกาลเมินนาน อายุค็ยืนหาพยาธิโรคาบ่ได้ ปราบแพ้ข้าเสิกทังมวล ได้เลิกยกยอส้างแปลงยังพุทธสาสนาเมืองเชียงใหม่หื้อรุ่งเรือง มีมหาธาตุเจ้าหริภุญเชยย์เปนต้นแล ถัดนั้นแม่นเสนาอามาตย์เจ้าขุนผู้น้อยผู้ใหย่ ผู้ใดจำเริญถือทือค็วุฑฒิด้วยโภคะเข้าของสัมปัตติ ยัสสะ สิริ เตชะ อายุ วัณณะ สุขุ พละ ชู่อัน แม่นไพร่ชาวเมืองผู้ใดได้จำเริญถือทือวุฑฒินัก บ่ถอยจากสัมปัตติ แม่นสมณะชีป่า มหานาคเจ้าทังหลาย คือสมเด็จราชครูสังฆราชสามีชีเถรเจ้าทังหลายขึ้นใจจำเริญส้างเปนยันต์ถือทือค็วุฒิจำเริญด้วยสิกข์โยมคุรุปัฏฐากมากหลาย มีวิสารทะธารณะปัญญาแล อันนี้ว่ตามอัตถบาฬี อันโบราณจริยเจ้าแต้มไว้ในใบลาน
              ปัญญาวชิรอรัญญวาสีหากพิจารณาไขแต่บาฬีออกไว้ในใบลานเพื่อให้เปนหิตสุขประโยชนะแก่คระหัฏฐ์แลนักบวชเจ้าทังหลายแล…”
              ในตอนท้ายยังได้กล่าวถึง มหาป่าเจ้าปัญญาวชิรอรัญญวาสี เป็นผู้แปลออกมาจากพระบาลีที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลานเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่คฤหัสถ์และนักบวชทั้งหลาย มหาป่าเจ้าองค์นี้ในมีหลักฐานปรากฎใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ว่า”…อยู่มาเถิงสักกราชได้ ๑๑๖๘ ตัว(พ.ศ.๒๓๔๙)เปนวันพระญาวัน ได้หดหล่อน้ำมุทธาราชภิเสกยังสวาธุเจ้าปัญญาวชิระมหาป่าเจ้าขึ้นเปนสมเด็จเสฏฐอัคควรราชเปนสังฆนายกะ…”คือได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชาราชครูหลวงเมืองเชียงใหม่…”
ปโชตา ที่ปรากฏในตำราพระเวทพิสดาร ภาค ๑
              ตำราพระเวทพิสดาร ภาค๑ เรียบเรียงโดยอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร กล่าวถึงประวัติของพระคาถาปโชตา ไว้ดังนี้
“…สิทธิการิยะ พระคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้ บังเกิดในเมืองลงกาทวีป นักปราชญ์แลผู้วิเศษทั้งหลายมีความปรารถนาจักให้บังเกิดความเจริญแก่พระมหากษัตริย์ คือพระเจ้าเทวานัมปิยดิษ จึงเลือกเอาพระพุทธคุณที่วิเศษ ประกอบขึ้นเป็นพระคาถา ๑๔ บทนี้ถวายแก่พระเจ้าทวานัมปิยดิษ พร้อมทั้งอุปเท่ห์ด้วย
              พระเจ้าเทวานัมปิยะดิษเธอก็ทรงเล่าเรียนพระคาถานี้ไว้ แล้วทรงสวดมนต์ภาวนาเป็นเนืองนิตย์ ก็ได้บังเกิดพระยศพระเกียรติตบะเดชะ ปรากฏไปทั่วทิศานุทิศ เสวยราชสมบัติยืนนานจีรังกาลอยู่ในเมืองอนุราธบุรีลังกานั้น
              จึงมีพระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อพระมหาชัยยมงคลเถรเธอมีศีลบริสุทธิ์ได้ไปไหว้พระทันตธาตุถึงเมืองลังกา เธอมีความปรารถนาจะให้เป็นประโยชย์แก่พระมหากษัตริย์ในชมพูทวีป เธอจึงขอเอาพระคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้ มาถวายแก่สมเด็จพระพรหมไตรโลกเจ้า สมเด็จพระพรหมไตรโลกเจ้า จึงถวายแก่พระมหากษัตริย์ในชมพูทวีป และพระมหากษัตริย์ก็ได้เล่าเรียนทรงเอาไว้ สวดมนต์ภาวนาเป็นนิจกาลก็ได้จำเริญพระยศพระเกียรติปรากฏไปทั่วต่างประเทศ ต่างก็อ่อนน้อมมาสู่พระราชสมภารมิอาจจะขัดแย้งอยู่ได้เลย ด้วยเดชานุภาพพระพุทธมนต์ ๑๔ บทนี้แล
              อธิบายว่าท้าวพระญามหากษัตราธิราช และสมณชีพราหมณ์ เศรษฐีคหบดีกฎุมภีทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาซึ่งประโยขน์และสุขในโลกทั้งสามนี้ไซร้ ให้เรียนซึ่งคาถาอันนี้ โดยอุปเท่ห์กระทำให้ชำนาญแลสังวัททยายไว้ทุกวันเป็นเนืองนิจมิได้ประมาท แลกษัตริย์ พราหมณ์ เศรษฐีคหบดีกฎุมภีทั้งหลาย ก็ถึงซึ่งความสิริสวัสดิภาพ หาโรคาพยาธิมิได้แล อาจกระทำให้เป็นที่เกรงขามแก่ศัตรู มีอายุยืนยาววัฒนาถาวรมีชัยชนะแก่ข้าศึก ปรากฏไปในทิศานุทิศต่างๆบรรดาคนทั้งปวงมาอยู่ในอำนาจแห่งตนด้วยเดชะพระคาถานี้ คนทั้งหลายก็ต่างน้อมนำเอาบรรณาการมาให้ ได้รับความสุขตราบเท่าถึงกาลกำหนดสิ้นชนม์มายุด้วยอำนาจพระคาถา ๑๔ บทนี้แล…”
             



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น