กสิสูตร พืชมงคลคาถา

กสิสูตร พืชมงคลคาถา


            คาถาพืชมงคล เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคล โดยพระองค์ทรงกสิสูตรบทนี้ในการพระราชนิพนธ์คาถาพืชมงคล  เริ่มต้นด้วยคำนมัสการสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้า อัญเชิญพระคาถาที่พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องการทำ นาแก่พราหมณ์ในกสิสูตร คาถาอันเป็นภาษิตของพระเตมีย์โพธิสัตว์ เกี่ยวกับการไม่ประทุษร้ายต่อมิตร และอัญเชิญเกี่ยวกับพระราช หฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตาแก่ประชาราษฎร ตั้งพระราชหฤทัยบำรุงให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าเป็นสัตย์จริง การ อธิษฐานโดยขออำนาจความสัตย์ ขอให้ข้าวไทยจงงอกงาม
            อถรรธิบายว่า กสิสูตรนี้มีอานิสงค์ทำให้พืชงอกงามดี ธัญญาหาร ผลาหารอุดมณ์สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยน้ำทำการกสิกรรม พืชดีไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ไร้แมลงมาทำลายต้นข้าวและพืชผักสวนครัว ประดุจดังอถรรคาถาบาลีแปลว่า “ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวังนำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
กสิภารทฺวาชสุตฺตํ
            เอวํ เม สุตํ  เอกํ สมยํ ภควา มคเธสุ วิหรติ ทกฺขิณาคิริสฺมิํ เอกนาฬายํ พฺราหฺมณคาเมฯ เตน โข ปน สมเยน กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส ปญฺจมตฺตานิ นงฺคลสตานิ ปยุตฺตานิ โหนฺติ วปฺปกาเลฯ อถ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย เยน กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส กมฺมโนฺต เตนุปสงฺกมิฯ
            เตน โข ปน สมเยน กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส ปริเวสนา วตฺตติฯ อถ โข ภควา เยน ปริเวสนา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา เอกมนฺตํ อฎฺฐาสิฯ อทฺทสา โข กสิภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺตํ ปิณฺฑาย ฐิตํฯ ทิสฺวา ภควนฺตํ เอตทโวจ
            อหํ โข, สมณ, กสามิ จ วปามิ จ,
กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชามิฯ ตฺวมฺปิ
, สมณ,
กสสฺสุ จ วปสฺสุ จ, กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชสฺสูติฯ
            อหมฺปิ โข
, พฺราหฺมณ, กสามิ จ วปามิ จ,
กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชามีติฯ
น โข มยํ ปสฺสาม โภโต โคตมสฺส ยุคํ วา
นงฺคลํ วา ผาลํ วา ปาจนํ วา พลีพเทฺท วา
,
อถ จ ปน
 ภวํ โคตโม เอวมาห
            อหมฺปิ โข, พฺราหฺมณ, กสามิ จ วปามิ จ,
 กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภุญฺชามีติ ฯ อถ โข กสิภารทฺวาโช
พฺราหฺมโณ ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ
กสฺสโก ปฎิชานาสิ, น จ ปสฺสามิ เต กสิํ
กสฺสโก ปุจฺฉิโต พฺรูหิ, กถํ ชาเนมุ ตํ กสินฺติฯ
สทฺธา พีชํ ตโป วุฎฺฐิ, ปญฺญา เม ยุคนงฺคลํ
หิรี อีสา มโน โยตฺตํ, สติ เม ผาลปาจนํฯ
กายคุโตฺต วจีคุโตฺต, อาหาเร อุทเร ยโต
สจฺจํ กโรมิ นิทฺทานํ, โสรจฺจํ เม ปโมจนํฯ
วีริยํ เม ธุรโธรยฺหํ, โยคเกฺขมาธิวาหนํ
คจฺฉติ อนิวตฺตนฺตํ, ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจติฯ
เอวเมสา กสี กฎฺฐา, สา โหติ อมตปฺผลา
เอตํ กสิํ กสิตฺวาน, สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติฯ
ภุญฺชตุ ภวํ โคตโมฯ กสฺสโก ภวํฯ ยญฺหิ ภวํ
โคตโม อมตปฺผลมฺปิ กสิํ กสตีติ
 
คาถาภิคีตํ เม อโภชเนยฺยํ,
สมฺปสฺสตํ พฺราหฺมณ เนส ธโมฺม
คาถาภิคีตํ ปนุทนฺติ พุทฺธา,
ธเมฺม สติ พฺราหฺมณ วุตฺติเรสาฯ
อเญฺญน จ เกวลินํ มเหสิํ,
ขีณาสวํ กุกฺกุจฺจวูปสนฺตํ
อเนฺนน ปาเนน อุปฎฺฐหสฺสุ,
เขตฺตญฺหิ ตํ ปุญฺญเปกฺขสฺส โหตีติฯ
            เอวํ วุเตฺต กสิภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺตํ เอตทโวจ  อภิกฺกนฺตํ, โภ โคตมเปอชฺชตเคฺค ปาณุเปตํ สรณํ คตนฺติฯ

คำแปล
            ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อว่าเอกนาลา ในทักขิณาคีรีชนบทแคว้นมคธ ก็ในสมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทียมไถมีจำนวน ๕๐๐ ในกาลหว่านข้าว ฯ
            ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่ ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ในเวลาเช้า ฯ
สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหาร (มื้อเช้า) ฯ
            ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงอาหาร (ของเขา) ครั้นแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
            กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่  ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่านครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ
            กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก  หรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าวอย่างนี้ว่า  ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ
            ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาว่าพระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัสบอก ไฉน ข้าพระองค์จะรู้การทำนาของพระองค์นั้นได้ ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวังนำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ
            เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ
            กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนา ขอจงบริโภคอมฤตผลที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่พึงบริโภคโภชนะ ซึ่งได้เพราะความขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ นี่เป็นธรรมของบุคคล  ผู้เห็นอรรถและธรรมอยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความเป็นไป (อาชีวะ) นี้ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านจงบำรุง ซึ่งพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่ มีความคะนองระงับแล้วด้วยข้าวน้ำอันอื่น ด้วยว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้มุ่งบุญ ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น