มหามณีจินดามนต์ (คาถาเรียกปลา เมตตามหานิยม)

มหามณีจินดามนต์



            ๐ สิทธิการิยะ พระมนต์บทหนึ่งบทใดมีอานิสงค์ทางเมตตามหานิยม มาแต่สมัยโบราณ ท่านเรียกขานในนาม "มหาจินดามณีมนต์" ซึ่งพระมนต์บทนี้จักบังเกิดอานิสงค์ได้หลากวิธี หากใช้ในทางเมตตามหานิยมก็ใช้การสวดถ้วน หรือนำเส้นเกศาของคนที่จักทำคุณ มาเสกด้วยก็จะเป็นได้ หากจักใช้เรียกปลาก็ให้นำเอาแผ่นศิลาหินก้อนใหญ่มาเป็นแท่นรองฝ่าเท้า จึงหันหน้าเข้าธารน้ำอันมีหมู่ปลาอาศัยอยู่ แล้วสวดบ่นพระมนต์บทนี้ ปลาทั้งหลายทั้งปวงจะเข้ามาให้โดยง่าย พระมนต์บทนี้มีชื่อเสียงมาในสมัยโบราณ เพราะพระเวทอื่นโดยจำเพาะอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘ หรือคาถาดอกไม้สวรรค์ยังโด่งดังมิเท่าพระมนต์บทนี้ พึงพิจารณาได้จากนิทานพื้นบ้าน ด้วยดังขุนช้าง-ขุนแผน สังข์ทอง เป็นเบื้องตัน
  

มหาจินดามนต์ในเรื่อง สังข์ทอง
           ๐ มาเอ่ยมาถึง                         ซึ่งเนินบรรพตภูเขาใหญ่
แลไปเห็นคนบนต้นไทร                 งามวิไลผิวผ่องดั่งทองทา
ยืนพินิจพิศเพ่งอยู่เป็นครู่                ลูกรักของกูแล้วสิหน่า
ตบมือหัวเราะทั้งน้ำตา                    ร้องเรียกลูกยาด้วยยินดี
อันพระเวทย์วิเศษของแม่ไซร้       ก็จะเขียนลงไว้ให้ที่แผ่นผา
จงเรียนร่ำจำไว้เถิดขวัญตา             รู้แล้วอย่าว่าให้ใครฟัง
อันรูปเงาะไม้เท้าเกือกแก้ว             แม่ประสิทธิให้แล้วดังปรารถนา
ยังมนต์บทหนึ่งของมารดา             ชื่อว่า มหาจินดามนต์
ถึงจะเรียกเต่าปลามัจฉาชาติ
          ฝูงสัตว์จตุบาทในไพรสณฑ์
ครุฑาเทวาชั้นบน                             อ่านมนต์ขึ้นแล้วก็มาพลัน
เจ้าเรียนไว้สำหรับเมื่ออับจน         จะได้แก้กันตนที่คับขัน
แม่ก็คงจะตายวายชีวัน                    จงลงมาให้ทันท่วงที


มหาจินดามนต์ในเรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผน
๐ ขุนแผนเสกซัดข้าวสารปราย      ผีร้ายหมอบกราดลงดาดป่า
ซ้ำเป่าอาคมลมจินดา                       ให้ฝูงผีมีเมตตาไปทุกตน
ขุนแผนว่าข้าแต่เทพารักษ์              อันเรืองฤทธิ์สิทธิศักดิ์ทุกแห่งหน
ท่านจงยกพยุหบาตรปีศาจพล       ไปประจญอารักษ์หลักเชียงอินทร
ด้วยว่าเจ้าเชียงใหม่ไม่ครองธรรม  ถึงกรรมเมืองจะแหลกแตกสิ้น
จงช่วยเรามาอาสาแผ่นดิน              เชิญมากินเครื่องเซ่นอย่าเว้นตัว
เทพเจ้าเหล่าโขมดมายา                  ต้องมนตร์จินดาก็ยิ้มหัว
ต่างรับอาสาว่าอย่ากลัว                   จะช่วยท่านเรียงตัวทั่วทั้งนั้น

คาถามหาจินดามณีมนต์ ตำหรับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ 


๐ สิทธิวิชามหามันตัง                      จินดามณีทิวากะรังภูมิยา
โจระปัตตัสมิง ทิพพะจักขุง           ถาวะทิสสะเร จันทะเทวี
อัสสะมุขี ทุติยาปะทะลักขณา        มณีจินดา ปิยัง ปัญจะทานัง
ยะสังทาลิถาสัง โกมัง                     ปะสันติ สิเนหัง มาตา
ปุตตังวะโอระตัง มณีจินดา            สหัสสะโกฏิเทวานัง
มนุสสะเทวานัง สมณะจิตตัง         ปุริสะจิตตัง  อาคัจฉาหิ
ปริเทวันติ ปิยัง มะมะ                      สัพเพชนา พหูชนา             
มหามณีจิดา  เอหิ พุทธัง                 ปิโย  เทวะมนุสสานัง
มณีจินดา เอหิธัมมัง                         ปิโย พรหมานะมุตตะโม
มณีจินดา เอหิ สังฆัง                        ปิโย นาคะสุปัณณานัง
ปิยินทรียัง นะมามิหัง                       พุทโธ โส ภะคะวา
ธัมโม โส ภะคะวา                            สังโฆ โส ภะคะวา
อินทะสิเน่หา พรหมะสิเน่หา         อิสสระสิเน่หา ราชา เทวี
มนตรีรักขัง จิตตังสระณัง จิตตังมะมะฯ


จากเหตุว่าเรื่องสังข์ทอง มีโครงเรื่องมาจากนิทานชาดกของภาคเหนือ ที่เรียกว่า "สุวัณสังขชาดก" ดังนั้นจึงมีคาถามหาจินดามนต์ที่เป็นของภาคเหนือโดยเฉพาะ


คาถามหาจินดามณี สายล้านนา
สำนวนที่ ๑
มณีจินต๋า ปิยังมังจะธะนังสัสสังสะต๋าปิโก๋มังปัสสะติสีเนหังตัสสะรูเป๋ อะภิมุปัสสะติฯ

สำนวนที่ ๒
จินต๋า มณี ปิยัง ปัญจะธะนังยัสสะปาสาทาสิเน โก๋มังปัสสะติ สิเนหังตัสสะรูเป๋นะทุกขะตะอัพภิภูต๋าปิมุตตัสสะสิเนเหวะมะทา สิโยโยสิโหกะละปะติกันตั๋ง นะสะทิโสเมยาจ๋าภาลังสะรังจิตตั๋ง เอวังธัมมาสุภาสิต๋า ฯ

สำนวนที่ ๓
จินต๋า มณี ปิยังเมยหัง สัพพะธะนังสุวัณณะ รัชชะฏะสัมปันโน ยะโสโภคาหิสัตตะรัตตะนะมะยังจตุทิสาอาคัจเฉยยะ ธะนังมะตั๋งพะลังอานุภาเวนะ สัพพะธะนัง วุทธิพะลังโหตุนิจจังฯ
 
ดังได้พรรณนามาก็ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

หมายเหตุ รูปภาพใช้ประกอบบทความเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น