แหวนพิรอด (แหวนป้องกันตัว)

แหวนพิรอด


                        เครื่องรางของขลังในสมัยโบราณมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นอันเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้ชายชาตรีคือ “แหวนพิรอด” อนึ่งคนสมัยก่อนมีนิสัยรบทัพจบศึกสงครามอยู่บ่อยครั้งต้องมีการต่อสู้กับข้าศึกจึงมีผู้ประดิษฐ์คิดค้นของขลังชนิดนี้ขึ้นมาโดยอาศัยว่าจะทำให้คงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ป้องกันตัวจากข้าศึกศัตรู
                        แหวนพิรอดแต่เดิมนั้นหาได้ไม่ยากนักมีอยู่ถมไปตามสำนักต่างๆ แต่ละอาจารย์ท่านก็สานออกมาให้ลูกศิษย์ลกหาประชันวิชากันอยู่บ่อยๆ แต่มาในปัจจุบันเริ่มหาผู้ถักและมีวิชาอาคมปลุกเสกเลขยันต์แหวนพิรอดไม่ค่อยจะเหลือแล้วจึงถือว่าเป็นของหายากมากๆ ยิ่งอาจารย์เก่าที่ท่านไม่อยู่บนโลกนี้แล้วก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ ถึงปัจจุบันจะมีคนถักเป็นแต่ก็ใช่จะขลังเช่นเดียวกับคนสมัยก่อนถักขึ้นมา
                        ในเงื่อนต่างๆที่เราได้เรียนจากลูกเสือ ผมก็เรียนมานะแถมไม่ได้เรื่องอีกต่างหาก เงื่อนชนิดหนึ่งชื่อว่าเงื่อนพิรอด เป็นเงื่อนที่ง่ายๆใครๆก็ทำได้ใช้ต่อเส้นเชือกหรือมัดห่อสิ่งของ ผูกอะไรต่อมิอะไร ซึ่งเงื่อนพิรอดนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆในการผูกเงื่อนแหวนพิรอดที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
                        อุปเทห์ว่าแหวนพิรอดใช้ป้องกันตัว เป็นของขลังที่มีคุณทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี ศาตราอาวุธฟันแทงไม่เข้า สวมใส่แล้วอึดทึกอดทนมากขึ้น ป้องกันคุณผีและคุณคน ป้องกันคุณไสยศาสตร์ต่างๆ

พิรอด คืออะไร ?
                        จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า พิรอด น. ชื่อแหวนชนิดหนึ่ง ถักด้วยผ้ายันต์หรือด้ายดิบเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องราง.
พันเอกพระสารสารขันธ์ ท่านให้ความหมายแหวนพิรอดว่า "ชื่อ พิรอด มาจากภาษาสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง อันตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือน กัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น"

                        ความเป็นมาของแหวนพิรอดนั้นยากที่จะสืบเสาะหา บางท่านกล่าวว่า อาจจะมาจากชื่อคนว่า “พิรอด” เป็นผู้สร้างขึ้นหรือ แหวนหลวงพิรอด นั่นเอง  แหวนพิรอดนั้นเชื่อว่าแต่เดิมพัฒนาอาวุธคู่กายของนักมวยที่เรียกว่าสนับแขน ด้วยเหตุว่าการชกต่อยกันจะมีการต่อสู้ในระยะประชิด อาจมการกอดปล้ำกันเมื่อใส่สนับแขนที่ทำด้วยด้ายดิบลงยางรักแล้วแข็งมีความคมทำให้เมื่อถูกโดนจะเจ็บปวดจึงทำให้ศัตรูไม่กลายกอดปล้ำ

แหวนพิรอดมี
2  ชนิด คือ

            1. พิรอดนิ้ว คือ แหวนพิรอดที่มีขนาดเล็กใช้สวมที่นิ้วมือ เป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลัง


            2. พิรอดแขน คือ สนับแขนพิรอดมีขนาดใหญ่สวมไว้ที่แขนเป็นอาวุธของนักมวยโบราณ 


            ปัจจุบันนอกจากสองชนิดนี้ยังมีผู้ประดิษฐ์เป็นกำไลพิรอดอีกด้วย

วัสดุและอุปกรณ์


แหวนพิรอดด้าย 

- ใช้ด้ายผ้าฝ้ายดิบ นำมาถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางรัก


แหวนพิรอดกระดาษ
-ใช้กระดาษ หรือกระดาษว่าว เขียนอักขระยันต์ตะกร้อ ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์มะอะอุ ม้วนเป็นเส้นแล้วนำมาถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางรัก

แหวนพิรอดผ้า 

- ใช้ผ้าขาว ผ้าแดง ผ้าดิบ หรือเศษจีวร ผ้าบังสุกุล ผ้าห่อศพ เขียนยันต์ทำแหวนพิรอด ม้วนเป็นเส้นแล้วนำมาถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางรัก

แหวนพิรอดหญ้าหรือเถาวัลย์

- ใช้หญ้าแพรกหรือเถาวัลย์ ไม้หวาย ลงอักขระยันต์ ถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางไม้ ยางสนเคลือบ หรือลงยางรัก

แหวนพิรอดไม้
- ใช้ไม้ตะเคียน กิ่งโพธิ์ ไม้มงคลต่างๆ แกะสลักเป็นเงื่อนพิรอด ลงยันต์คาถา เคลือบยางไม้ ยางสนหรือลงยางรัก

แหวนพิรอดหางช้าง

- ใช้ขนหางช้าง งาช้าง หรือหางสัตว์ ถักสานเป็นเงื่อนพิรอด

แหวนพิรอดหิน

-ใช้หินแกะสลัก หยกแกะสลัก หรืออัญมณีทำหัวแหวนพิรอด  เรียกว่า “แหวนพิรอดนพเก้า”

แหวนพิรอดโลหะ


-เป็นแหวนพิรอดที่นิยมไม่แพ้แหวนพิรอดด้ายดิบ ทำจากโลหะด้วยการขึ้นรูปเป็นเส้นแล้วถักสานหรือหล่อแบบเป็นแหวนพิรอดทั้งวงเลย โลหะที่นิยมก็ทอง เงิน ทองแดง ทองเหลือง เหล็ก อื่นๆ

คาถาอาคมและเลขยันต์ที่ใช้


ยันต์ตรีนิสิงเห

ยันต์ตะกร้อ

            เมื่อได้แหวนพิรอดมาแล้วจะโยนเข้ากองไฟ หากไฟไหม้แหวนพิรอดนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ต้องทำอันใหม่ที่ไฟไม่ไหม้ และการนำไปใช้เมื่อต้องไปทำศึกสงครามให้ถือแหวนพิรอดนี้แล้วบริกรรมด้วย มะอะอุฯและถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม
            ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ เงื่อนพิรอดนั้น จัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการต่อเชือกหรือการผูกโยงเพื่อความมั่นคง แน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ ที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูปวัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้านมหานิยมก็เข้ม ขลังขนาดอมตะ ดาราอย่าง คุณ มิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า "พระพิรอดขอดพระพินัย" และเวลาแก้เชือกก็มีคาถาว่า "พระพินัยคลายพระพิรอด" อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่าง เชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์ สร้างก็คือ "ผ้าขอด" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด "พิรอดเดี่ยว" เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่า ๆ เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จังหวัดชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆราวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่าน้ำวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี

วิธีสานแหวนพิรอด
1.ตัดเชือกความยาวประมาณครึ่งเมตร ทบครึ่ง จัดเชือกตามภาพ



2.จับเชือกด้านนึงม้วนให้เป็นวง ตามภาพ



3.จับเชือกเส้นเดิมทับอีกปลายเชือกของเรา จัดเชือกให้ได้ตามภาพ


4.จัดเชือกให้เป็นวง ดูจากรูป  ง่ายกว่าถ้าอ่านอย่างเดียว จะงงมากเลยเพราะอธิบายไม่ถูกเลยไม่รู้จะอธิบายยังไงดี


5.จับปลายเชือกสอดไต้ ตามภาพ จบขั้นตอนนี้ปลายด้านนี้เราก็ถักเสร็จเรียบร้อยแล้ว


6.เริ่มมาจับเชือกอีกปลายนึงที่เราทิ้งไว้ตั้งแต่ตอนแรก คราวนี้เริ่มยากหน่อยมีสอดๆ ทับๆ สลับๆกันไป จับปลายด้านนี้ทับเส้นที่ยุทำลูกศรเอาไว้


7.จับปลายเชือกเมื่อกี้ สอดไต้เชือกที่ยุทำลูกศรเอาไว้


8.จบขั้นตอนนี้จะได้แบบนี้

9.จับเชือกเส้นเดิมทับเส้นที่ยุทำลูกศรเอาไว้


10.จับเชือกสอดไต้อีกเส้น


11.จับเชือกเส้นเดิมทับเส้นที่ยุทำลูกศรเอาไว้


12.แล้วก็สอดไต้เส้นที่ยุทำลุกศรเอาไว้


13.เรียบร้อยแล้วได้มาแบบนี้ เช็คดูความเรียบร้อยจะเห็นว่าเชือกถักสาน ขัดกันทั้งทับและสอด สลับกันไป อันเป็นตามความหมายของคำว่าพิรอดนั่นล่ะ




1 ความคิดเห็น: