หุ่นพยนต์ (ข้ารับใช้ผู้ซื่อสัตย์)

หุ่นพยนต์ (ข้ารับใช้ผู้ซื่อสัตย์)


            หุ่นพยนต์ ในวงการไสยศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันดีเรื่องมีภูตผีเป็นผู้รับใช้ติดตามจะสายไหนก็มักจะมีข้ารับใช้เสมอ ทั้งสายเทพ สายพราย สายภูติ สายผี สายเวทย์ บางครั้งถูกเรียกไปต่างๆนานา เช่น วิชามารยศาสตร์สร้างปู่โสม การฆ่าคนเพื่อเฝ้าสมบัติพัสถาน กุมารทองกุมารี รักยม อิ่นจันทร์ อิ่นแก้ว ในลัทธิองเมียวโดของญี่ปุ่นมีชิกิงามิ ชิกิยิน เป็นการเสกกระดาษเป็นข้ารับใช้ ซึ่งเป็นพวกเดียวกับหุ่นพยนต์นี้ แต่ต่างกันออกไปที่หุ่นพยนต์จะสามารถสร้างจากวัตถุสิ่งขออะไรก็ได้
            หุ่นพยนต์ คำนี้ว่าจากคำว่า “พยนต์” แปลว่า สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น เช่น หุ่นพยนต์ เป็นรูปหุ่นจำลองของคน สัตว์ เทวดา ยักษ์ หรืออะไรต่อมิอะไร โดยอาศัยหลักการว่าอยากได้รูปร่างยังไงให้ทำหุ่นแบบนั้น หรือชนิดไหนตามแต่ความต้องการจะใช้หุ่นพยนต์ ประมาณว่าให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้ไปทำ 

            วัสดุที่นำมาใช้สามารถทำได้เกือบทุกอย่าง ตั้งแต่หุ่นหญ้าสาน หุ่นก้านใบไม้สาน หุ่นเถาวัลย์สาน หุ่นหวายสาน ใบไม้ถัก หุ่นไม้แกะสลัก หุ่นไขเทียน หุ่นด้าย หุ่นผ้า หุ่นดิน หุ่นดินเผา หุ่นหิน  หุ่นกระเบื้อง หุ่นอิฐ หุ่นปูน หุ่นเงิน หุ่นทอง หุ่นโลหะ ซึ่งการเลือกใช้นั้นอาศัยหลักง่ายๆว่าอาจารย์ไหนใช้อะไรจะต้องใช้ตามอาจารย์ ผีธาตุไหนจะให้เหมาะก็ธาตุนั้นๆ เหมาะสมกับงานดำน้ำลุยไป อย่างไรก็ตามเห็นเพียงก้อนเดียวก็เป็นหุ่นพยนต์ที่ทรงพลังได้ ต้องมาจากวิชาอาคมวิทยาคมของผู้ทรงอาคมแกร่งกล้ามากเพียงไหนหุ่นพยนต์จะมีอานุภาพเพียงนั้น ที่สำคัญเอาสะดวกว่า บางครั้งจะเก็บติดตัวต้องพกพาไปไหนมาไหนง่าย  ขนาดกะทัดรัดหรือขนาดใหญ่ก็อาศัยว่าจะใช้งานอย่างไร หุ่นพยนต์ธรรมดามักจะแค่หุ่นที่เสกคล้ายมีชีวิต มีรูปร่างของวิญญาณที่มีฤทธิ์มีเดช แต่หากเป็นหุ่นพยนต์อาถรรพ์ เป็นของอาถรรพ์จะมารเอาวิญญาณ หรือผีสางนางไม้ วิญญาณสิงสาราสัตว์ ผีตายห่าตายโหง ผีตายพราย ตายทั้งกลม ผีแขวนคอตาย ผีรถชนตาย ผีจมน้ำตาย สัมภเวสีผีเร่ร่อน  สะกดลงในหุ่นเพื่อกำกับออกมาใช้ เรียกว่า “พรายหุ่นพยนต์” 


            การใช้ของอาถรรพ์มาเป็นหุ่นนั้นประสบความสำเร็จมากสำหรับมือใหม่หัดทำ หรือมือเก่าขั้นฉมัง ไม่ว่าจะเป็นด้ายจูงศพ ผ้าหอศพ เชือกผู้คอตาย ดินเชิงตะกอนป่าช้ายิ่งเฮี้ยนยิ่งดี ขี้เถ้า ตะปูตอกโลงศพ เหล็กแทงศพ เขี้ยวงาสัตว์ พิษสัตว์ เมื่อได้วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการเหมาะสมกับงานแล้ว ให้ขึ้นรูปตามที่คิดว่าจะทำตัวอะไร สิ่งที่นิยมคือหุ่นสาน หุ่นตันๆ(หุ่นปั้น) หุ่นแกะสลัก
3 อย่างนี้มักเห็นอยู่บ่อยๆ 


            ตัวอย่างที่หนึ่ง ถักสานย่านลิเภาเป็นหุ่นรูปจำลองคน  สองแขนหรือสี่แขนหรือสิบแขน นุ่งผ้าขาวผ้าแดง สานอาวุธติดพร้อมมือ หอกดาบปืนผาหน้าไม้กระบี่กระบองจักรธนู  จะให้ให้ขี่วัวขี่ควาย ขี่หมีขี่แรด ขี่เสือขี่ช้าง ขี่เหยี่ยวขี่หงส์หรือจะให้เป็นกองทัพเดินดิน ให้เป็นนักรบโชว์เดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ใช้ในการต่อสู้ ใช้ป้องกันตัวเป็นกลุ่มกองกำลังผีติดอาวุธยุทโธปกรณ์ 

            ตัวอย่างที่สอง ปั้นหุ่น หล่อหุ่นเป็นสัตว์ มีเท้าไม่มีเท้า สองตีน สี่ตีน สิบตีน แสนตีน มีเขี้ยวมีงา มีงวงมีหาง มีหูมีเขา จะเป็นสัตว์ประหลาดหรือสัตว์ในวรรณคดีย่อมได้ บ้างให้เป็นเสือมีเขี้ยวมีเล็บหรือเขี้ยวดาบ  บ้างให้เป็นช้างมีงามีงวงหรือมางเป็นปลา ช้างน้ำมีงาลงน้ำได้สะดวก บ้างให้เป็นหมี บ้างให้เป็นแรดมีนอมีหนังแข็ง บ้างให้เป็นงูมีเขี้ยวมีพิษ บ้างให้เป็นนกมีหูมีตามีปากแหลมเล็บแหลมมองไกลได้สะดวกใช้เป็นเรดาร์ได้สบาย  ใช้ต่อสู้โจมตี

            ตัวอย่างที่สาม แกะสลักจากไม้จากหิน หรือปั้นจากดิน เป็นยักษ์ปิศาจ สัตว์ประหลาดต่างๆ มีกระบองกระบี่ ขี่พาหนะ มีโล่มีเกาะ ยืนบ้างนั่งบ้าง ใช้ต่อสู้ หรือเฝ้าสถานที่ ปกปักษ์พิทักษ์รักษาสถานที่ต่างๆ ตามคำสั่งของผู้ใช้วิทยาคม


            ตัวอย่างที่สี่ หุ่นพยนต์ตาปะขาว ยายปะขาว ชีปะขาว หุ่นพยนต์ตัวครูพ่อครู เป็นปู่ครูอาคม นุ่งขาวห่มแดง ใช้รักษาวิชาอาคม ปกป้องคุ้มภัย ใช้ถามไท้ความอยากรู้ต่างๆ ใช้ป้องกันตัวจากภูตผีปิศาจ ใช้เป็นเมตตามานิยม รักษาผลประโยชน์ของเจ้าของ  ทำให้ผู้ประสงค์ร้ายมีอันเป็นไปในรูปแบบต่างๆ


            ตัวอย่างที่ห้า หุ่นพยนต์ตะกรุด เป็นด้ายหรือเชือกผูกเป็นปม ประกอบด้วยหัว ลำตัว แขน ขา ใช้แผ่นโลหะ บ้างใช้ทองเหลือง บ้างใช้แผ่นเงิน บ้างใช้แผ่นทองคำ บ้างใช้แผ่นทองแดง บ้างใช้แผ่นเหล็ก บ้างใช้แผ่นตะกั่ว พันเป็นหัวเป็นตัวเป็นแขนขา ตะกรุดประเภทนี้เหมือนกับการพกติดตัวไปไหนมาไหนมาที่สุด สะดวกที่จะห้อยติดตัวแขวนติดรถ มัดติดกระเป๋า นิยมใช้ในการป้องกันตัว ไล่ภูตผีปิศาจ เมตตามหานิยม เป็นมหาเสน่ห์ก็ได้


            เมื่อได้รูปปั้นตามต้องการแล้วก็นำมาประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ เรียกว่า “ผูกหุ่นพยนต์”  คือการเอารูปหุ่นที่ได้แล้วมาเป่าเสกคาถา ปลุกผีแล้วสะกดลงหุ่น ให้ภูตผีสิ่งสถิตหุ่นพยนต์ ในระดับนี้จะเรียกว่าพรายหุ่นพยนต์ ปลุกเสกเสร็จแล้วจะมีวิธีการเลี้ยงรักษาแน่นอนหุ่นพยนต์ปกติไม่กินอะไรอยู่แล้ว จะมีคาถากลบทอยู่
4 คาถาที่ใช้หลังจากปลุกเสกแล้ว ตามตำหรับที่ผมได้ศึกษามา การนำหุ่นไปที่มีผีเฮี้ยนแล้วลุกผีขึ้นมาจากนั้นก็เจรจากันให้ดี ถ้าผียอมดีๆเราจะใช้ทำงานง่ายขึ้น จากนั้นใช้คาถาผูก หากเป็ตำหรับที่ไม่ต้องใช้พรายสะกด ตัวอย่างเช่น ตำหรับของหลวงปู่สุข วัดปากครองมะขาวเฒ่าท่านว่าเอาหญ้าคาหรือหญ้าแพรก ผ้าที่ท่านชักบังสุกุลหรือสายสิญจน์ที่ใช้สวดมนต์นำมาถักเป็นหุ่น แล้วปลุกให้ขึ้นจนมีรูปร่างใหญ่โตก็ได้ ให้หัดทำในที่ลับตาคน เมื่อทำเป็นแล้วจึงทำที่ใดก็ได้ ขณะที่จะเริ่มเป็นหุ่นนั้น จะกลิ้งโคลงเคลงเสียงดังโครมครามเสียก่อน จากนั้นก็ใช้คาถาหัวใจนิพพานสูตร “อะนิโสสะ”
            “โสสะอะนิ” พระคาถานี้ใช้บริกรรมผูกหุ่น จนกว่าจะเป็นขึ้นมา
            “สะอะนิโส” พระคาถานี้ ใช้บริกรรมเรียกหุ่นให้มาหาเรา เมื่อจะไปในที่ใด ให้ขี่คอหุ่นนั้นไปเถิด
            “อะนิโสสะ” พระคาถานี้ เมื่อผูกหุ่นให้เป็นขึ้นมาแล้ว จะให้อยู่ในที่ใดก็ดี ให้เสกเอาสายสิญจน์คล้องคอหุ่นไว้ เมื่อจะใช้ไปไหนค่อยถอดออก
            “นิโสสะอะ”เมื่อจะใช้หุ่นไปไหนให้ บริกรรมคาถานี้ขับออกให้ไป แล้วเอาสายสิญจน์ออก
            เมื่อจะทำให้จัดเครื่องกระยาบวช ๑ สำหรับบูชาครู เทียนเล่มหนัก ๑ บาท ผ้าขาว ๑ ผืน เงิน ๑ บาท เอาแป้งปั้นเป็นควายดำ ๑ ตัว ท่องคำบูชาครู
                                    ตะมัตถัง ปะกาเสนโต สัตถาอาหะ อิมะอะวิ ตะอุอะมิ มะสะนะโม
 สิบนิ้วของข้าขอน้อมนมัสการ แด่คุณครูบาอาจารย์ ผู้ประสาทวิทย์ อันเป็นมิ่งมิตรทั่วโลกา ข้าพเจ้าขอไหว้เทพยดาผู้ศักดิ์สิทธ์ ทั้งพระองค์พรหมศรี ผู้เรืองฤทธิไกร อีกทั้งครูผู้รู้ไสยศาสตร์โหราจารย์ จงมาอภิบาลปกเกศ ทั้งบิตุเรศชนนี หลวงพ่อกวยก็ดีจงมาเป็นสักขีพยานให้ข้า ซึ่งจะท่องว่าคาถาอาคม ให้บรรจุสิ้นและศักดิ์สิทธิ์ เป็นนิมิตดีแก่ข้า ณ บัดนี้เทอญ
                     กล่าวคือตำหรับของหลวงปู่สุขนั้นได้รับกล่าวขานว่า “เสกหัวปลีเป็นกระต่าย การเสกใบมะขามเป็นตัวต่อ” ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ต่อหน้าพระพักต์ของกรมหลวงชุมพรฯ (เสด็จเตี่ย) มาแล้ว ในหุ่นพยนต์ที่หลวงปู่สุขสร้างนั้นรุ่นที่ทำจากน้ำว่านและใบไม้
7 อย่าง ใบตาล ใบลาน ใบขนุน ใบคูณ ใบพยุง ใบรัก ใบจันทร์ แล้วจารอักขระคาถายันต์หัวใจนักรบ ผูกเป็นหุ่นพยนต์อาถรรพ์ขึ้นมา

            ในตำหรับอีกหลายตำหรับจะใช้คาถานี้คือ "โอม ปลุกมหาปลุก กูจะปลุกพ่อหุ่นพยนต์ ด้วยอะหังทุกัง นะมะพะทะ" ถ้าจะให้ผีพรายสิงก็ใช้ "อมปลุก มหาปลุก กูจะปลุกโหงพรายด้วยนะมะพะทะนะละภูตาปิยังมะมะฯ" เป็นการปลุกผีพรายที่อยู่ในหุ่นพยนต์เข้าสิงคนอื่น และคาถาสำหรับหุ่นพยนต์ ให้ใช้คาถาสี่กลบทนี้ในการควบคุม คือ เรียก ปลุก ผูก ขับ
หลักการนี้สามารถใช้กับผีประเภทอื่นๆได้ เพื่อให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจเรา


คาถาเรียก (เรียกพรายให้มาหา)
จิเจรุนิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง
นิพพานัง พะทะนะมะ เตโชธาตุ
ทีฆังวา อะสะจะภะ วาโตเสนโต
เอกะชานัง ปะรังยันตะวา อาคัจฉามิ

คาถาปลุก (ปลุกพรายเพื่อสั่งการใช้งาน)
จิเจรุนิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง
นิพพานัง มะพะทะนะ ปถวีธาตุ
ทีฆังวา ภะกะสะจะ วาโตเสนโต
ปะสสาโสหัทธะยัง สิวัง ชีวัง อุตเตติ

คาถาผูก (ผูกพรายให้อยู่กับที่ไม่ออกไปเพ่นพ่าน)
จิเจรุนิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง
นิพพานัง ทะนะมะพะ วาโยธาตุ
ทีฆังวา สะจะภะกะ วาโตเสนโต
พุทธา พันธะ นายะกัง พันธัตตะวา

คาถาขับ (ขับพราย ไล่พรายให้ไปไกลๆ)
จิเจรุนิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง
นิพพานัง นะมะพะทะ อาโปธาตุ
ทีฆังวา จะภะกะสะ วาโตเสนโต
อัสสาโส นิพพานังสูญญัง คัจฉะติ 



            หุ่นพยนต์แม้ว่าโดยรวมๆแล้วจะไม่มีพิษมีภัย แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะถ้าเลี้ยงงูเห่า ก็อย่าให้งูเห่าเหว้งกลับมากัดเรา

จบเรื่อง หุ่นพยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น