เบี้ยแก้ และ ภควจั่น

เบี้ยแก้ และ ภควจั่น


            ในบรรดาวัตถุมงคลต่างๆ มีเครื่องรางของขลังอยู่ชนิดหนึ่งที่สร้างมาเพื่อแก้คุณไสย์โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้จักเบี้ยแก้ ก็ทำความรู้จักไว้เสียก่อน เบี้ยแก้ทำมาจากหอยเบี้ยโดยหอยเบี้ยถือเป็นเงินตราในสมัยโบราณ ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับหอยเบี้ยในโบราณทั้ง 8 ชนิดกันก่อน
1. เบี้ยโพล้ง
2. เบี้ยแก้
3. เบี้ยจั่น
4. เบี้ยนาง
5. เบี้ยหมู
6. เบี้ยพองลม
7. เบี้ยบัว
8. เบี้ยตุ้ม

            สำหรับเบี้ยที่ใช้เป็นเครื่องรางมีเบี้ยจั่น หรือเบี้ยจักจั่น โดยลักษณะทั่วไปของเบี้ยจั่น คือ มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ทะเลแดง อินโด-แปซิฟิก นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกากลาง ชายฝั่งทะเลทวีปแอฟริกาตอนตะวันออกและใต้ ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลญี่ปุ่น ไปจนถึงโอเชียเนีย ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่ลอยมาตามกระแสน้ำ

            เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

            นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี “ภควจั่น” นี้แยกออกเป็นสองคำคือ  ภคว เป็นคำย่อของ  ภควดี  อันเป็นสมญานามของ  พระลักษมีและจั่น  เป็นคำสามัญหมายถึง  เบี้ยจั่น  อันเป็นเครื่องหมายของพระลักษมี ซึ่งเป็นเครื่องรางในสมัยอยุธยาที่นำเอาเบี้ยจั่นมาหุ้มด้วยทองแล้วประดับพลอย


ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยมีชนิดที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ คือ "ไนเจอร์" (Niger) ที่หอยจะสร้างเมลามีนสีดำเคลือบเปลือกไว้จนกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำทั้งหมด และชนิดที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrat) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้างแคลเซี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนียที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคาของเปลือกหอยที่มีค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้วย

เบี้ยแก้


            เบี้ยแก้มีอิทธิฤทธิ์ทางด้านการป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ยาเสน่ห์ กันเขี้ยวงา หรือ แม้กระทั่งกันผี เบี้ยแก้ที่ดังๆ เป็นที่รู้จักกันมีอยู่ 2 สำนัก คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง และ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ว่ากันว่าอาคมของหลวงปู่ทั้งสองนี้ เข้มขลังนัก ขนาดที่ว่าเสกเบี้ยให้คลานเหมือนหอยได้เลยทีเดียว 

            วิธีการสร้างเบี้ยแก้คือการนำปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้า ไปอยู่ในตัวเบี้ย แล้วหาวิธีอุดไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาได้ อย่างของอาคมประเภท ลูกอม หรือลูกสะกด ต่างๆ ที่ต้องนำปรอทมาหลอมกับทองแดง เงิน ทองคำนั้นเรียกว่าปรอทที่ตายแล้ว ส่วนปรอทที่นำมาทำเบี้ยแก้เรียกว่าปรอทเป็น โดยเมื่อเขย่าตัวเบี้ยแก้แล้วจะได้ยินเสียงดัง "ขลุกๆ" อยู่ในตัวเบี้ย
            ถ้าทำเบี้ยในช่วงฤดูร้อน ปรอทจะมีการขยายตัวมาก ทำให้เวลาเขย่าในสภาวะอากาศร้อนก็จะไม่ค่อยได้ยินเสียง "ขลุก" แต่ถ้าในเบี้ยตัวเดียวกันมาเขย่าในช่วงอากาศหนาวปรอทจะหดตัวลงทำให้มีพื้นที่ในตัวเบี้ยเหลือทำให้เขย่าแล้ว ได้ยินเสียง "ขลุก" ได้ชัดเจน เมื่อกรอกปรอทเสร็จแล้วจะปิดช่องด้วยชันนะโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้ว และหุ้มด้วยผ้าแดงหรือแผ่นตะกั่วแผ่นทองแดงแล้วจึงนำ มาถักเชือกหรือหุ้มทำห่วงไว้ให้ ผูกเอวหรือห้อยคอ ขั้นตอนสุดท้ายคือการปลุกเสกกำกับอีกครั้งหนึ่ง เสียงของเบี้ยแก้แต่ละตัวไม่เหมือนกันบางตัวก็ดังมาก บางตัวก็ดังน้อย บางตัวบรรจุปรอทน้อยเกินไปการกระฉอกของปรอทจะดังคล่องแคล่วดีแต่ก็ขาดความหนักแน่น บางตัวบรรจุปรอทมากไปก็อาจจะทำให้เสียงน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็มีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบนะครับ คราวหน้าคราวหลังถ้าได้ไปเช่าหาเบี้ยแก้ก็อย่าลืม "เขย่า" ใกล้ๆ หู ฟังเสียงปรอทมันกระฉอกชอบเสียงแบบไหนก็เลือกตัวนั้นเลย 

         ลูกสะกดปรอท  พระปรอท  และเมฆสิทธิ์ลักษณะต่าง ๆ เพราะอิทธิวัตถุเหล่านี้ใช้ปรอทแข็ง  ซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่าง ๆ เช่น  ทองแดง  เงิน  และทองคำ  เป็นต้น  บางทีก็เรียกว่า  “ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว”  ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้ง  ประการใดก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก  ส่วนปรอทที่ใช้บรรจุในตัว  เบี้ยจั่น  นั้นเป็น  ปรอทเป็น  หรือปรอทดิน  เวลาเขย่าเบี้ยแก้ใกล้ ๆ หู  จะได้ยินเสียปรอทกระฉอกไปมา  เสียงดัง  “ขลุก ๆ”  ซึ่งเรียกว่า  “เสียงขลุก”  ของปรอท  ดังชัดบ้างไม่ชัดบ้าง  ขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ย  และอุณหภูมิฤดูกาลในขณะนั้น ๆ ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อนบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตรและเขย่าฟัง เสียงในอากาศร้อน ๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลย  แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน  ลองเขย่าและในฤดูหนาวที่อากาศเย็น ๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
         เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วก็กรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณ  เอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบ ร้อย  แล้วจึงหุ้มด้วยผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกแล้ว  เสร็จแล้วจึงเอาด้วยถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วง  เพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอ  หรือทำเป็นสองห่วงไว้ใต้ท้องเบี้ย  เพื่อร้อยเชือกคาดเอว

         เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว  ต่างกับเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรง  ตรงที่หุ้มผ้าแดงลงอักขระเพราะของหลวงปู่รอดใช้แร่ตะกั่วหุ้ม  แล้วจึงลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ยอีกครั้ง  การที่ทราบเช่นนี้ได้ก็เพราะมีผู้อุตริสอดรู้สอดเห็นบางคน  เคยผ่าเบี้ยแก้ของทั้งสองสำนักนี้ดู  จึงได้ปรากฏหลักฐานการห่อหุ้มอิทธิวัตถุชั้นในภายใต้ด้ายถักลงรัก  ซึ่งเป็นเปลือกหุ้มด้านนอกดังกล่าว
         ลักษณะการถักด้ายหุ้มด้านนอกเท่าที่สังเกตดู  ถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ  จะมีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบ ๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ย  ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด  จะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ย  กับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย  และลายถักนี้ก็มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง  (เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง)  แต่ข้อสังเกตอันนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวนักไม่ได้  เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำนัก
         เสียง  “ขลุก”  ของปรอท  จากการสังเกตเสียงขลุกของปรอทในขณะที่เขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหู  จะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ยสำหรับของจริงของสองสำนัก ดังกล่าวนี้จะมี  “เสียงขลุก”  คล้ายคลึงกันกล่าวคือ  จะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลาย จังหวะ  ชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบาง ประการเช่น  บรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในห้องเบี้ยกล่าวคือให้เหลือช่อง ว่างไว้พอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาสกระฉอกไปมาได้สะดวงและน่าจะเป็นการบรรจุ ปรอทในฤดูร้อน  ตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้น ๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้ว  ปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้น  สะดวกแก่การกระฉอกหรือคลอน
            เบี้ยแก้บางตัวจะมีเสียงขลุกไพเราะมาก  เป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะ  และหลายแบบ  คือมีทั้งเสียงหนักและเสียเบา  สลับกันอุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้นหรือนกเขาเสียงคู่  เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้นส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไป  การกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดีแต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่นตรงกันข้ามกับ เบี้ยแก้บางตัว  บรรจุปรอทมากเกินไป  การกระฉอกหรือคอลนจึงมีน้อย  จนเกือบสังเกตไม่ได้


 เบี้ยแก้ของสำนักอื่นๆ
          นอกจากเบี้ยแก้ของสำนักวัดกลางบางแก้วของหลวงปู่บุญ  และของหลวงปู่รอด  วัดนายโรงแล้ว  ยังมีของสำนักอื่น ๆ อีก  เช่น เบี้ยแก้วัดคฤหบดี  วัดอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดียวกันกับวัดนายโรงแต่ยังสืบทราบความเป็นมา ของการสร้างเบี้ยแก้ได้ไม่ชัดเจนนัยว่าหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้เป็นศิษย์ของ หลวงปู่รอดวัดนายโรงนั้นเอง  เบี้ยแก้ของวัดคฤหบดีจัดว่าเป็นเบี้ยแก่รุ่นเก่า  รองลงมาจากของสำนักดังกล่าวลักษณะของเบี้ยแก้วัดคฤหบดีนั้นเท่าที่ทราบและ พิจารณาความจริงของจริงมาบ้างนั้นเข้าใจว่าสัณฐานของตัวเบี้ยค่อนข้างจะเบา กว่าของวัดกลางและของวัดนายโรงสักเล็กน้อย  แต่ถ้าค่อนข้างเล็กมากก็กล่าวกันว่า  จะเป็นของหลวงปู่แขก  เส้นด้ายที่ถักหุ้มตัวเบี้ยของวัดคฤหบดี  ค่อนข้างหยาบกว่าของวัดนายโรง  และมีทั้งลงรักปิดทองและลงยางมะพลับ  (สีน้ำตาลไหม้คล้ำ)  ลักษณะการถักหุ้มคงมีสองแบบคือ  แบบถักหุ้มทั้งตัวเบี้ยกับ  แบบถักเหลือเนื้อที่เป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย  และเสียง  “ขลุก”  ของปรอทมีจังหวะและน้ำหนักของเสียงน้อยกว่าของสองสำนักนอกจากนี้ยังสืบทราบมาว่า  ทางจังหวัดอ่างทองยังมีเบี้ยแก้อีกสามสำนักด้วยกันคือ

         เบี้ยแก้วัดนางใน  วัดนางในอยู่หลังตลาด  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง  หลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ได้มรณภาพไปนานปีแล้ว  และท่านเป็นอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อโปร่ง  เจ้าอาวาสวัดท่าช้างรูปปัจจุบัน  ลักษณะของเบี้ยแก้ไม่ได้  ถักด้ายหุ้ม  เมื่ออุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วก็ใช้หุ้มเลี่ยมด้วยเงิน  ทอง  หรือนาค  และเหลือให้เป็นเนื้อเบี้ยเป็นวงกลมไว้ด้านหลัง
            เบี้ยแก้วัดโพธิ์ปล้ำ  วัดตั้งอยู่ในตำบลท่าช้าง  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง  หลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ก็คงมรณภาพไปนานแล้วเช่นเดียวกัน  และท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโปร่งลักษณะของเบี้ยแก้คงทำนองเดียวกันกับของ วัดนางใน
            เบี้ยแก้วัดท่าช้าง  วัดตั้งอยู่ในตำบลสี่สร้อย  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง    หลวงพ่อโปร่ง  “ปญฺญาธโร”  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นผู้สร้างลักษณะของเบี้ยแก้คงคล้ายกับสองสำนักดัง กล่าว  เพราะเชื้อสายเดียวกัน

ความสำคัญของเบี้ยแก้
         เบี้ยแก้ตัวนี้สำคัญนัก  พ่อค้าแม่ขายจักหมั่นไหว้บูชา  จะไต่เต้าเจ้าสัวแสนทะนาน  ลาภเต็มห้องทองเต็มไห  ขุนนางใดมีไว้ในตัวดีนักแล  จักให้คุณเป็นถึงท้าวเจ้าพระยาพานทอง  ทรัพย์สินสิ่งของเต็มวัง  อีกช้างม้าวัวความนับได้หลายเหลือ  หลวงปู่เฒ่าเจ้าสั่งสิ่งอาถรรพณ์  อาเทพอัปมงคลทุกข์ภัยพิบัติทั้งยาสั่ง  ให้อันตรธานสิ้นไป  ศัตรูปองร้ายให้พ่ายแพ้ภัยตัว  ขึ้นโรงขึ้นศาลชนะปลอดคดีความสิงค์สาราสัตว์สารพัดร้าย  ปืนผาหน้าไม้ผีป่าปอบและผีโป่ง  ทั้งแขยงมิกล้ากล้ำกราย  หากมีเหตุเภทภัยอันตรายจะบอกกล่าวเตือนว่า จงอย่าไป

         เบี้ยแก้เป็นอิทธิวัตถุชั้นหนึ่งเตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็นตัว  หากบุคคลใดมีไว้เป็นสมบัติ  นำติดตัวโดยคาดไว้กับเอว  หรือโดยประการอื่นใด  ย่อมปกป้องภยันตรายได้ทั้งปวง  เป็นเมตตามหานิยม  แคล้วคลาดมหาอุดคงกระพันทุกประการ  คุ้มกันเสนียดจัญไร  คุณไสยยาสั่ง  และการกระทำย่ำยี  ทั้งหลายทั้งปวงได้ชะงัดนักป้องกันภูตพรายได้ทุกชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น